การขับเคลื่อนเครือข่ายพลังบวรของวัดท่องเที่ยวรองรับสังคมสูงอายุ ในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การขับเคลื่อนเครือข่ายพลังบวรของวัดท่องเที่ยวรองรับสังคมสูงอายุในจังหวัดขอนแก่น” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวของวัดท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายพลังบวรของวัดท่องเที่ยว เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายพลังบวรในระยะยาวของวัดท่องเที่ยว เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มเฉพาะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระภิกษุ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประชาชนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 60 รูป/คน สนทนากลุ่ม จำนวน 20 รูป/คน และนำผลการวิจัยแต่ละขั้นตอนมาวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล จัดทำข้อสรุป วิเคราะห์แบบอุปนัย จำแนกชนิดข้อมูล เปรียบเทียบเชิงเนื้อหา และสรุปข้อมูลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดการท่องเที่ยวของวัดท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่นพบปัญหารถติดเมื่อถึงฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ผู้ให้บริการรถรับจ้างปรับราคาค่าโดยสารเกินราคาปกติ ปฏิเสธลูกค้า หรือต้องการรับเฉพาะชาวต่างชาติในราคาเหมาจ่าย อีกทั้งผู้ประกอบการโรงแรม ร้านค้า ขึ้นราคาห้องพักและราคาสินค้า รวมถึงไม่มีการสนับสนุนจิตอาสาในการเข้าร่วมอบรมให้มีความรู้ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและของกลุ่ม และไม่ทราบแนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เกิดการกระจายรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการของจิตอาสา
2) การขับเคลื่อนเครือข่ายพลังบวรของวัดท่องเที่ยว เพื่อรองรับสังคมสูงอายุในจังหวัดขอนแก่น กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีส่วนในการพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่เด็กและเยาวชน มีการอบรมพัฒนาสมรรถนะให้ความรู้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และสื่อสารสนเทศ ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อให้วัดท่องเที่ยวสามารถรองรับสังคมสูงอายุได้
3) วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถรองรับสังคมสูงอายุ มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวางแผน ได้แก่ 1) การจัดทำแผนงาน/โครงการ 2) การจัดการศึกษา 3) การกำหนดและจัดสถานที่เผยแพร่ข้อมูล 4) การจัดพิพิธภัณฑ์หรือมุมแสดงนิทรรศการให้ความรู้ 5) การรักษาความสะอาด 6) การจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. (2564). รายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสรสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://eh.anamai.moph.go.th/th/elderlycluster/downloadid=66747&mid=33846&mkey=m_document&lang=th&did=20886
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, และ วรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-97.
ปิยะดา ภักดีอำนาจ, และ พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการจัด สวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(2), 121-122.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสาร เทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), 73-82.
อิโคโมสไทย. (2550). การอนุรักษ์และการพัฒนามรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในแนวทางบูรณาการการข้ามศาสตร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.