รถคันเก่ากับเครื่องยนต์ใหม่: การทำความเข้าใจการปฏิรูประบบราชการไทยและปัญหาในอนาคต

Main Article Content

นิติ มณีกาญจน์
กฤษฎา พรรณราย

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ต้องการอธิบายถึงรูปแบบการปฏิรูประบบราชการไทยและปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า การปฏิรูประบบราชการมีสองรูปแบบหลัก ได้แก่ การปฏิรูปเชิงโครงสร้างและการปฏิรูปเชิงวิธีการทำงาน การปฏิรูปเชิงโครงสร้างสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม แต่จะต้องอาศัยอำนาจทางการเมืองที่เข้มข้น เป็นเอกภาพ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปเชิงโครงสร้างมักจะนำไปสู่การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางหรือตัวผู้ปกครอง ส่วนการปฏิรูปเชิงวิธีการทำงาน มักเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และอาศัยช่วงเวลาที่ยาวนานกว่าในการเปลี่ยนแปลง โดยที่ผ่านมานั้นระบบราชการของไทยได้มีการปฏิรูปทั้งในสองรูปแบบ การปฏิรูปเชิงวิธีการทำงานปรากฎอย่างชัดเจนตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และสืบเนื่องต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ส่งผลให้การบริการสาธารณะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การปฏิรูปเชิงโครงสร้างกลับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ยังคงเน้นไปที่อำนาจของราชการส่วนกลาง ลำดับชั้นการบังคับบัญชาที่เข้มแข็ง การจำกัดบทบาทและควบคุมราชการส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ในระยะยาวระบบราชการจะไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างในช่วงแรกและจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการดำเนินตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศในหลายด้าน การปฏิรูปเชิงโครงสร้างจึงมีความจำเป็น เพียงแต่จะต้องอาศัยอำนาจทางการเมืองที่เข้มแข็งในการเปลี่ยนแปลงและกระทำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางเหมือนที่ผ่านมา


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์. (2557). รายงานโครงการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลการกระจายอำนาจของไทย. สืบค้นจาก https://peaceresourcecollaborative.org/theories/political-structure-government/monitordecentralisation

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (2559). จตุสดมภ์. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index. php?title=จตุสดมภ์

พีรทิพย์ สุคันธเมศวร์. (2549). การปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่นำไปสู่การสร้างรัฐชาติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (2561, 31 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 1-71.

วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:สถาบันพระปกเกล้า.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2549). การเมืองการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2554). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2559). การรวมศูนย์อำนาจและการกระจายอำนาจกับการบริหารราชการแผ่นดินไทย: การทบทวนแนวคิด ข้อถกเถียงและข้อพิจารณาเพื่อการปฏิรูป. กรุงเทพ: สถาบันพระปกเกล้า.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2556). การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน. วารสารธรรมศาสตร์, 32(1), 77.

อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2559). ฐานปรัชญาของระบบราชการในอุดมคติ. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 38(2017), 679-688.

อลงกต สารกาล. (2563). บทวิเคราะห์การบริหารงานภาครัฐไทย: จากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารพระปกเกล้า, 47(3), 47-78.

Bowornwathana, B. & Poocharoen, O. (2010). Bureaucratic politics and administrative reform: why politics matters. Public Organization Review, 10(2), 303-321.

Chowdhury, M. (1984). Weber’s ideal type of bureaucracy. Indian Journal of Public Administration, 30(1), 177-183.

Serpa, S., & Ferreira, C. M. (2019). The concept of bureaucracy by Max Weber. International Journal of Social Science Studies, 7(2), 12-18.

Visitchaichan, S. (2004). Revisiting Weber’s theory of bureaucracy and its usefulness for analyzing organizational structures and issues. Thai Journal of Public Administration, 2(2), 127-146.

Wyatt, D. K. (1969). The Politics of Reform in Thailand: Education in the Reign of king Chulalongkorn. New Haven: Yale University Press.