การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสตรี เพื่อถอดบทเรียนวิธีการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสตรีและเพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาของผู้บริหารสตรี การสัมภาษณ์ผู้บริหารและการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสตรี มีการปฏิบัติตามเกณฑ์การบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) ด้านการนำองค์กร ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ และด้านการจัดการกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด และ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก วิธีการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสตรีประกอบด้วย การกำหนดทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาจากนโยบายและแนวปฏิบัติของหน่วยงานต้นสังกัด โดยสอดคล้องกับจุดเด่นของสถานศึกษา เน้นการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโดยการร่วมกิจกรรมในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมครูที่มีความสนใจและสมัครใจให้พัฒนานวัตกรรมการสอนให้เป็นแบบอย่างผู้อื่น แบ่งโครงสร้างการบริหารของโรงเรียนตามที่กำหนดมาจากต้นสังกัด และแบ่งเพิ่มตามความต้องการจำเป็น จุดเด่นของการบริหาร ประกอบด้วย การเป็นแบบอย่างที่ดี ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริหาร เน้นการทำงานเป็นทีมและมีวิธีการนิเทศเชิงรุก แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 1) ตั้งเป้าหมายชัดเจน 2) มีกระบวนการบริหาร6 ด้านตามเกณฑ์ PMQA และ 3) สร้างเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ธนายุ ภู่วิทยาธร. (2561). การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 198-208.
ปรีชา ดาวเรือง, กรองทิพย์ นาควิเชตร, ศรุดา ชัยสุวรรณ, และ สมบูรณ์ ตันยะ. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1), 47-61.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เยาวเรศว์ นุตเดชานันท์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการพัฒนาองค์กร ตามเกณฑ์ คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/ebook/filesปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จองค์กร%20PMQA.pdf
รัตนพร รัตนสุวรรณ, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์, และ สุภาพ เต็มรัตน์. (2564). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(3), 9.
ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2560). ผู้นำหญิงไทยไม่น้อยหน้าใครในโลก. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640608
สันติ แสงระวี, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, และ จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ. (2562). การจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3552-3571.
สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 30(105), 54-62.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. (2564). ผลการประกวดรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ภาคเหนือจังหวัดลำพูน. สืบค้นจาก http://awards63.obecawards.net/ckfinder/userfiles/files/1630554640x1366441276_2.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. สืบค้นจาก http://krukob.com/web/wp-content/uploads/2022/03/ประกาศ-นโยบาย-สพฐ2564-2565.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐประจำปี พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ. (2555). คู่มือการประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS เล่มที่ 3. สืบค้นจาก https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2019/06/คู่มือการประเมิน-รางวัลทรงคุณค่า-สพฐ.-OBEC-AWARDS-เล่มที่-3.pdf
สิทธิพัฒน์ ตั้งกิจกิตต์. (2559). อุปสรรคต่อโอกาสความก้าวหน้าสู่ตำแหน่งผู้จัดการสาขาของพนักงาน หญิงกรณีศึกษา บมจ. ธนาคารกรุงไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมินPISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปีเรียนรู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand. ipst.ac.th/issue-2019-48/
Lee, D. M. (2008). Essential Skills for Potential School Administrators: A Case Study of One Saskatchewan Urban School Division. (Master’s thesis). Saskatoon : University of Saskatchewan. Retrieved from https://harvest.usask.ca/handle/10388/etd-04302008-134115
National Association of Secondary School Principals (NASSP). (2013). Breaking Ranks :10 Skills for successful School Leaders. Retrieved from https://www.nassp.org/Content/158/BR_tenskillsExSum.pdf.
Romanow, L. (2012). The women of Thailand. Global Majority E-Journal, 3(1), 44-60.