ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มยังไพร์ดคลับ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นิพพิชฌน์ เครื่องสนุก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม Young Pride Club 2) พัฒนาการแนวคิดและวิธีการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Young Pride Club และ 3) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Young Pride Club โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีการดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 6 คน ซึ่งเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (social movement) 


ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นมาของกลุ่ม Young Pride Club เกิดการก่อตัวของกลุ่มโดยผู้ก่อตั้งกลุ่มมีกรอบโครงความคิดเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศจึงรวมกลุ่มกับผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกันโดยกลุ่มรวมตัวกันอย่างไม่มีโครงสร้างองค์กร 2) พัฒนาการแนวคิดและวิธีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคือวิธีการเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อขยายแนวร่วมกับกลุ่มนักศึกษาผ่านแนวคิดอัตลักษณ์ทางเพศกระทั่งช่วงขยายเครือข่ายกลุ่มประสบความสำเร็จผ่านแนวร่วม   กับองค์กรการเคลื่อนไหวอื่นโดยการพัฒนาแนวคิดสู่ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนด้านอื่น ๆ เช่น กลุ่มผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่ม Sex Worker เป็นต้น 3) ปัจจัยภายนอกด้านโอกาสทางการเมืองในแง่ของการมีตัวแทนพรรคการเมืองเพื่อร่วมผลักดันสิทธิข้อเรียกร้องทางกฎหมาย  แม้ช่วงรักษาเครือข่ายโอกาสทางการเมืองปิดเพราะเกิดสถานการณ์โควิด 19 กลุ่มสามารถยืดหยุ่นการเคลื่อนไหวโดยเปลี่ยนยุทธวิธีการเรียกร้องสิทธิทางการเมืองผ่านกิจกรรมสื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาแนวคิดเรื่องสิทธิอัตลักษณ์ทางเพศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์, พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ, และ สุพัตรา สันติรุ่งโรจน์. (2562). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3759-3772.

ชานนท์ ยอดหงษ์. (2563). ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาไพรด์ กับเหตุผลที่เราต้องไป Chiang Mai Pride 2020 กัน. สืบค้นจาก https://thematter.co/thinkers/chiang-mai-pride-2020/101065

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

วรรษมน ไตรยศักดา. (2562). อัปเดตวันงาน LGBT Pride ทั่วเอเชียในครึ่งปีหลัง. สืบค้นจาก https://thestandard.co/lgbt-pride-date

วีรนุช พรมจักร. (2564). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสิทธิสตรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 216-226.

เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์. (2556). พลวัตภายในแนวการวิเคราะห์ขบวนการทางสังคม. วารสารสังคมศาสตร์, 43(1), 181-204.

Carter, D. (2004). Stonewall: the riots that sparked the gay revolution. Retrieved from https://us.macmillan.com/books/9780312671938/stonewall

McAdam, D., McCarthy, J., & Zald, M. (1996). Comparative perspectives on social movements: political opportunities, mobilizing structures, and cultural framings. New York, NY: Cambridge University Press.

Snow, D. & Benford, R. (1992). Master frames and cycles of protest. In A. D. Morris and C. M. Mueller (Eds.), Frontier in Social Movement Theory (pp. 133-155). New Haven, CT: Yale University Press.

Snow, D. & Benford, R. (2000). Framing processes and social movements: an overview and assessment. Annual Review of Sociology, 26, 611-639.

Stone, L. A. (2016). The impact of anti‐gay politics on the LGBTQ movement. Sociology Compass, 10(6), 3-13.

Tarrow, S. (1998). Power in Movement Social Movements and Contentious Politics. New York, NY: Cambridge University Press.