การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ชุมชนลุ่มแม่น้ำวางตอนล่าง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ชุมชนลุ่มแม่น้ำวางตอนล่าง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่หมู่บ้านลุ่มแม่น้ำวางตอนล่าง และเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่หมู่บ้านลุ่มแม่น้ำวางตอนล่าง โดยได้ใช้กระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ด้วยวิธีการสำรวจ การสัมภาษณ์ การจัดประชุมกลุ่มย่อย และแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า จากการสำรวจศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4 หมู่บ้านลุ่มแม่น้ำวางตอนล่าง ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าชุมชนเหล่านี้มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม และมีวิถีชีวิตชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่สมาชิกในชุมชนยังขาดความรู้และทักษะด้านการจัดการท่องเที่ยว และขาดรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีเหมาะสมกับบริบทชุมชนซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ธุรกิจการท่องเที่ยวในชุมชนส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยผู้ประกอบการจากภายนอก และช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ก็ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ชุมชนจึงจำเป็นต้องจัดการท่องเที่ยวที่ลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอก และมุ่งให้บริการนักท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นหลักในการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้เน้นการจัดการอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน ผลจากการพัฒนาได้ช่วยสร้างเสริมศักยภาพของสมาชิกชุมชนให้สามารถจัดการการท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง ชุมชนสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยส่งเสริมการกระจายรายได้สู่ชุมชนในอนาคต รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ให้แก่เจ้าบ้านและนักท่องเที่ยวอันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมการท่องเที่ยว. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจากwww.dot.go.th/storage/3_01_2562/.pdf
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2553). คู่มือการท่องเที่ยวในมิติเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ปรัชญาแห่งการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นจาก https://www.randdcreation.com
Binkhorst, E. (2006). The Co–Creation Tourism Experience. Retrieved from http://www.esade.edu/cedit2006/pdfs2006/papers/esther_binkhorst_paper_esade_may_06.pdf
Buranapin, S., & Ratthawatankul, T. (2015). Philosophy of sufficiency economy and sustainability: A framework for operational implications. Journal of Business and Behavior Sciences, 27(1), 115.
Indaratna, K. (2013). Sufficiency economy: A happiness development approach. Asian Social Science, 10(2), 102-111.
Kantabutra, S. (2008). Development of the sufficiency economy philosophy in the Thai business sector: Evidence, future Research and policy implications. Retrieved from https://www.academia.edu/3494736/Development_of_the_Sufficiency_Economy_Philosophy_in_the_Thai_Business_Sector_Evidence_Future_Research_and_Policy_Implications
Kittiprapas, S. (2015). Sustainable happiness and sustainable development. Retrieved from http://www.happysociety.org/uploads/HsoDownload/9499/download_file.pdf
Kusumawali, S. (2010). Human resource management for adequacy in an organization. Bangkok: National Institute of Development Administration.
Marques, H. (2006). Research report: Searching for complementarities between agriculture and tourism: The demarcated wine-producing regions of northern Portugal. Tourism Economics, 12(1), 147–155.
Naipinit, A. & Maneenetr, T. (2010). Community participation in tourism management in Busai village homestay, Wangnamkheo District, Nakhon Ratchasima Province, Thailand. International Business & Economics Research Journal, 9(1), 103-110.
Poung-ngamchuen, J., Supa-udomlerk, S., & Leerattanakorn, N. (2015). A Study on people’s sustainability of quality of Life in accordance with philosophy of sufficiency economy in Aomkoi District, Chiang Mai, Thailand. Journal of Marketing and Management. 6(2), 1-10.
Pruetipibultham, O. (2010). The sufficiency economy philosophy and strategic HRD: A sustainable development for Thailand. Human Resource Development International, 13(1), 99-110.
Richards, G. (2010). Creative tourism and cultural events. Retrieved from https://www.docstoc.com/docs/68264727/Creative-tourismand-cultural-events
Richards, G. & Raymond, C. (2000). Creative tourism. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/254822440_Creative_Tourism
The National Economic and Social Development Board (NESDB). (2007). Sufficiency economy implications and applications. Retrieved from https://sep.nesdc.go.th/Book/2557/Sufficiency%20Economy%20Implication%20and%20Application.pdf
United Nations Development Programme (UNDP). (2007). Thailand human development report 2007. Retrieved from https://hdr.undp.org/system/files/documents/thailand2007enpdf.pdf
Wibulswasdi, C., Piboolsravut, P. & Pootrakool, K. (2010). Sufficiency Economy Philosophy and Development. Bangkok: The Crown Property Bureau.