การสร้างระบอบอาหาร: ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่านกับกลุ่มพลังทางสังคม พ.ศ. 2557-2562

Main Article Content

สันทราย วงษ์สุวรรณ
วัชรพล พุทธรักษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงานการสร้างระบอบอาหารของศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน และอธิบายปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มพลังทางสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นช่วง พ.ศ. 2557-2562 ซึ่งปัจจัยเชิงสถาบันได้เปิดช่องให้บรรษัทข้ามชาติ ทั้งด้านเมล็ดพันธุ์ อุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร การทดลองทางเคมีและวิทยาศาสตร์ เข้ามาสู่ประเทศกำลังพัฒนาด้วยข้ออ้างว่า “ประเทศไทยกำลังสร้างความมั่นคงทางอาหาร”การเข้ามาของบรรษัทข้ามชาติและการลงทุนระหว่างประเทศ ส่งผลให้การสร้างระบอบอาหารในระดับท้องถิ่นล่มสลายลงหลายพื้นที่ เนื่องจากต้นทุนของเกษตรกรที่มีน้อยกว่าและตลาดในชุมชนเล็กกว่า จึงทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับทุนขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญและมีอำนาจในการกำกับดูแลระบบเศรษฐกิจได้


ผลการวิจัย พบว่า การจัดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน และกลุ่มพลังทางสังคมต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ในการต่อสู้ต่อรองกันกับภาครัฐ โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิที่ดินทำกินของชาวบ้าน เนื่องจากที่ดินเกือบทั้งจังหวัดน่านเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเรื่องนี้ได้เป็นปัญหาที่ยาวนานกับชาวบ้าน และส่งผลต่อการสร้างระบอบอาหารให้กับชุมชน ในจังหวัดน่าน ดังนั้น ผู้ศึกษาต้องการชี้ให้เห็นว่าอาหารไม่ใช่เพียงวัตถุสำหรับการบริโภคเท่านั้น แต่อาหารคือ “อำนาจ” และระบอบอาหารคือ “ความสัมพันธ์ทางอำนาจ”  ที่กำหนดปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. สืบค้นจากhttps://dictionary.orst.go.th

วีระ หวังสัจจะโชค. (2564). การเมืองและการเคลื่อนไหวเรื่องอาหาร: การพัฒนาสถาบันของอธิปไตยทางอาหารในรัฐธรรมนูญ เปรียบเทียบประเทศโบลิเวีย อินโดนิเซีย และไทย. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

แมคไมเคิล, ฟิลิป. (2559). ระบอบอาหารและคำถามว่าด้วยสังคมเกษตรกรรม (สร้อยมาส รุ้งมณี, ณัฐการต์ อัครพงศ์พิศักดิ์, ทัพทิม ทับทิม, และ ศักรินทร์ ณ น่าน, ผู้แปล). เชียงใหม่: ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ปีพิมพ์ต้นฉบับ 2013)

ศยามล เจริญรัตน์. (2561). โครงการที่ 3 โครงการระบอบอาหารกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้ผลิตสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในวิถีชีวิตแบบไทย (ปีที่ 1) (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bernstein, H. (2016). Agrarian political economy and modern world capitalism: the contributions of food regime analysis. The Journal of Peasant Studies, 43(3), 3-4.

Campesina, V. (2003). Food sovereignty. Retrieved from https://viacampesina.org/en/food-sovereignty

Friedmann, H. (1993). The political economy of food: a global crisis. New left review, 1(197), 6.

Gramsci, A. (1978). Selections from Political Writings (1921-1926) with additional texts. London: Lawrence and Wishart.

McMichael, P. (2009). A food regime genealogy. The Journal of Peasant Studies, 36(1), 139-169.

McMichael, P. (2005). Global development and the corporate food regime. Bingley: Emerald Group.

Reardon, T., Timmer, C. P., Barrett, C. B., & Berdegué, J. (2003). The rise of supermarkets in Africa, Asia, and Latin America. American Journal of Agricultural Economics, 85(5), 1140-1146.