การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม พื้นที่กลุ่มเหมืองแร่ดอยไก่เขี่ย

Main Article Content

ปริญญา ปฏิพันธกานต์
พันธุ์ลพ หัตถโกศล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มเหมืองแร่ดอยไก่เขี่ย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อกระบวนการสร้างผังทางเลือก ตามหลักการออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของผังแนวคิด (Conceptual plan) มีวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Study) เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการวางผังภูมิสถาปัตยกรรม  2 ผังทางเลือก และนำไปสู่ขั้นตอนการศึกษาภาคสนาม (Field Study) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ต่อผังทางเลือก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยครั้งนี้


ผลการศึกษาพบว่า ทั้งกลุ่มของผู้นำชุมชน และกลุ่มของประชาชนทั่วไปให้ความคิดที่สอดคล้องกัน โดยเลือกผังทางเลือกที่ 1 คือ การออกแบบวางผังการปลูกป่าธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของชุมชนมากที่สุด สามารถเสนอแนะแนวทางการพัฒนาได้ทั้งหมด 4 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่ขุมเหมือง ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำและแหล่งศึกษาระบบนิเวศทางน้ำ 2) บริเวณพื้นที่ผนังบ่อที่มีความลาดชันสูง มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาและเป็นพื้นที่กิจกรรมริมน้ำ 3) บริเวณพื้นที่กิจกรรมเหมืองที่มีความลาดชันปานกลาง มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่อนุรักษ์ระบบนิเวศ ปลูกไม้ยืนต้นพื้นถิ่น ที่อยู่อาศัยของนกประจำถิ่น และ 4) บริเวณพื้นที่กิจกรรมเหมืองที่มีความลาดชันน้อย สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ปลูกป่าเศรษฐกิจ สวนสมุนไพร เส้นทางศึกษาธรรมชาติและจุดชมวิว เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของขุมชนในอนาคตได้ ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถนำไปพัฒนาเป็นแผนแม่บทพื้นที่โครงการได้จริง (Master plan) แสดงให้เห็นถึงลักษณะการออกแบบและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามหลักภูมิสถาปัตยกรรมพื้นที่บริเวณกลุ่มเหมืองแร่ดอยไก่เขี่ย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2564). โครงการออกแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่กลุ่มหมืองแร่ตามหลักภูมิสถาปัตย์และการมีส่วนร่วม. (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เดชา บุญค้ำ. (2539). การวางผังบริเวณและงานบริเวณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย หงส์วิทยากร. (2545). ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น. เอกสารประกอบการสอนวิชาภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น, เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้. [อัดสำเนา].

อัจฉรี เหมสันต์. (2551). ภูมิทัศน์ในเคหะสถาน. เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และ การออกแบบสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Norman, K. Booth. (1983). Basic Element of Landscape Architecture Design. New York, NY: Waveland Press Inc.

Norman, K. Booth. & James, E. Hiss. (1991). Residential Landscape Architecture: Design Process for The Private Residential. New Jersey, NJ: Prentice Hall.