การบริหารจัดการที่มุ่งสู่ระบบราชการ 4.0 ของสถานสงเคราะห์เด็กโต กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการที่เป็นอยู่และการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ระบบราชการ 4.0 ของสถานสงเคราะห์เด็กโต กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยใช้เทคนิคเดลฟายเป็นกระบวนการหลักในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารสถานสงเคราะห์เด็กโต 12 แห่ง จำนวน 12 คน และ 2) ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นข้าราชการประจำ สังกัดกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการระบบราชการ 4.0 จำนวน 15 คน ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นข้าราชการเกษียณจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญที่เป็นข้าราชการเกษียณสังกัดมหาวิทยาลัยโดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำงานร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน จำนวน 1 คน รวมจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่ตอบแบบสอบถามในวัตถุประสงค์ที่ 2 ทั้งสิ้น 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่เป็นอยู่ของสถานสงเคราะห์เด็กโต และแบบสอบถาม โดยแบ่งเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดใช้สำหรับเก็บข้อมูลด้านการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ระบบราชการ 4.0 (รอบที่ 1) และแบบสอบถามปลายปิดใช้เก็บรวบรวมข้อมูลด้านความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการบริหารจัดการระบบราชการ 4.0 (รอบที่ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัย ควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการที่เป็นอยู่ของสถานสงเคราะห์เด็กโต 12 แห่ง มีการดำเนินงานภายใต้เกณฑ์การประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 ครบทั้ง 6 หมวด คือ 1) การนำองค์การ 2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 3) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร และ 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ในขณะที่ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ระบบราชการ 4.0 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นด้านการเป็นระบบราชการ 4.0 ของสถานสงเคราะห์เด็กโตทั้ง 3 เป้าหมาย ได้แก่ ระบบราชการที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน ระบบราชการที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และหน่วยงานของรัฐที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงระดับความสอดคล้องของการตอบข้อคำถามของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 เป้าหมาย พบค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 4.00 – 5.00 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ อยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 1.00 ซึ่งสะท้อนว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมกิจการเด็กและเยาวชน กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว. (2561). คู่มือปฏิบัติงานของสถานรองรับเด็ก. กรุงเทพฯ: กรมกิจการเด็กและเยาวชน.
ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์. (2560). ไทยแลนด์ 4.0 กับการปรับตัวของข้าราชการไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 661-673.
ฐานเศรษฐกิจ. (2560). ปฏิรูประบบราชการ ประตูสู่ “รัฐบาล 4.0”. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/politics/141975
ทินกร บัวชู, และ สุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(1), 141-153.
ไทยรัฐออนไลน์. (2560). ระบบราชการ 4.0 (ต่อ). สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/newspaper/columns/937990
นารีลักษณ์ ศิริวรรณ. (2561). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ กรณีศึกษาหน่วยงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 3 ด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
รดาธร สอนเต็ม. (2563). สมรรถนะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย คริสเตียน, นครปฐม.
วิชชุตา ธนพูนไพศาล. (2560). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 : กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนกลาง. สืบค้นจาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2560_1561118462_6014830022.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการประเมินการเป็นระบบราชการ 4.0 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ