กลยุทธ์การพัฒนาท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีชุมชนบ้านป่าตาล ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สาธินี วัฒนกุล
บงกชมาศ เอกเอี่ยม
เฉลิมชัย ปัญญาดี
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทของการท่องเที่ยว และ ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี รวมไปถึงศึกษากระบวนการ ขั้นตอน การบริหารจัดการของกลุ่มท่องเที่ยว และ จัดทำกลยุทธ์ของการพัฒนาการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีชุมชนบ้านป่าตาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ระเบียบวิจัยทั้งแบบปริมาณ และ คุณภาพโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการจัดสนทนาแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ คณะกรรมการท่องเที่ยวของบ้านป่าตาล จำนวน   30 คน และ คนในชุมชนบ้านป่าตาล จำนวน 217 คน


ผลการศึกษา พบว่า บริบทการท่องเที่ยวของบ้านป่าตาล มีความเป็นอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทยอง ภายในชุมชนมี แหล่งท่องเที่ยวทั้ง วัด พิพิธภัณฑ์ ฐานการเรียนรู้ ร้านอาหาร โฮมสเตย์ของชุมชน และมีการจัดกิจกรรม ด้านประเพณีวัฒนธรรมจะเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ และประเพณีของชาวไตยอง ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นงานฝีมือที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชุมชน ส่วนกระบวน การบริหารจัดการท่องเที่ยวบ้านป่าตาล พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับ บุคลากร ทักษะ โครงสร้าง ค่านิยมร่วม ระบบ รูปแบบ กลยุทธ์ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยสู่ความสำเร็จของการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับ การมีส่วนร่วม ผู้นำ กฎระเบียบ การบริหารจัดการ แหล่งเงินทุน และการตลาด เพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม SWOT analysis และจัดทำ TOWS  Matrix เพื่อสร้างกลยุทธ์การท่องเที่ยวของชุนชนบ้านป่าตาลแบ่งเป็น 4 ด้าน 6 กลยุทธ์ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก คือ 1) การต่อยอดการท่องเที่ยวของชุมชน 2) การประสานความร่วมมือเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ 3) การพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 4) การส่งเสริมพัฒนาบุคลากรในชุมชน  กลยุทธ์เชิงรับ คือ 5) การส่งเสริมการตลาดต่อการท่องเที่ยว และ กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ 6) การสร้างจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. สืบค้นจาก https://korat. cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/22/2018/05

เกริกยศ ชลายนเดชะ. (2557). การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ฐีระ ประวาลพฤกษ์. (2538). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2542). ธุรกิจชุมชน เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, และ จินตนา บุญบงการ. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา: บทบาทของครูกับ Active Learning. สืบค้นจาก https://www.ite.org

ธนพล จันทร์เรืองฤทธ์. (2561). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2546). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม. ขอนแก่น: ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน.

ประชา ตันเสนีย์. (2550). รูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (มหาชน) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสื่อสารของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

รัชฎา รัตนดะบุญฤทธิกร. (2546). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ลักษมี เสือแป้น. (2555). ความสำเร็จของการพัฒนากลุ่มอาชีพและความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มอาชีพสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า บ้านเขาสะพายแร้ง ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักนโยบายและแผน. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก https://anyflip.com/fgcxq/wxtc

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2555). McKinsey7-S Framework แนวคิดปัจจัย7 ประการในการประเมินองค์กร. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/etda_website/mains/display/459

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf

อำนาจ วัดจินดา. (2553). การประเมิน McKinsey 7-S Framework แนวคิดปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์กร. สืบค้นจาก https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170512_102402.pdf

เอนก เหลาโชติ. (2547). การบริหารจัดการธุรกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มหัตถกรรมตุ๊กตาราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

Peters, T. J. & Waterman, R. H., Jr. (1980). In Search of Excellence (2nd ed.). London: Profile Book.