มิติองค์ประกอบองค์กรสุขภาวะของร้านสะดวกซื้อ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

วิราพร จี้สอน
พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามิติองค์ประกอบองค์กรสุขภาวะของร้านสะดวกซื้อในอาณาเขตพื้นที่สัมปทานภาคเหนือตอนบน ทั้งนี้โดยผลที่ได้จากการศึกษาซึ่งเป็นมิติสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและแนวทางดำเนินงานองค์กรสุขภาวะ ในการที่จะทำให้เกิดความสำเร็จและประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กรได้ ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนทัศน์การวิจัยแบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) และใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบศึกษาปรากฏการณ์ (Phenomenology) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มพนักงานในระดับปฏิบัติงานของร้านสะดวกซื้อในอาณาเขตพื้นที่สัมปทานภาคเหนือตอนบน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 15 คน และใช้หลักการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น


ผลการศึกษาพบว่ มิติองค์ประกอบองค์กรสุขภาวะของร้านสะดวกซื้อ ในอาณาเขตพื้นที่สัมปทานภาคเหนือตอนบน ได้แก่ 1) ด้านกายภาพ (Physical) ได้แก่ สุขภาพร่างกาย โภชนาการ การป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ 2) ด้านอารมณ์และจิตใจ (Emotional & Mental) ได้แก่ การมีจิตใจที่ดี การมองโลกในเชิงบวก ความสามารถในการควบคุมและจัดการอารมณ์ได้ดี การจัดการความเครียด 3) ด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) ได้แก่ จิตวิญญาณในการทำงาน จิตวิญญาณในการรักองค์กร 4) ด้านสังคม (Social) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร 5) ด้านสติปัญญา (Intellectual) ได้แก่ การมีสติ การพัฒนาความรู้และทักษะ การเรียนรู้ 6) ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (Compensation and Welfare) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่เป็นตังเงิน และไม่เป็นตัวเงิน 7) ด้านการแสดงความคิดเห็น (Opinion) ได้แก่ พื้นที่แสดงความคิดเห็น การแก้ไขปัญหา การมีส่วนร่วม โดยมิติได้จากการศึกษาสามารถนำไปพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีในการให้บริการ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งของร้านสะดวกซื้อต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญเรือน ทาไร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ปทุมธานี.

แผนพัฒนาภาคเหนือ. (2565). แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2565 ฉบับทบทวน. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8533

ลาวัณย์ จักรานุวัฒน์. (2540). ความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (M.B.A.) สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพ ต่อการจัดการศึกษาภาคพิเศษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์, กรุงเทพฯ.

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2565). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2565-2567: ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/outlook-2022-2024

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ. 2560 - 2565 ฉบับทบทวน. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8533

สุภาวดี ศรีมันตะ. (2560). การบริหารค่าตอบแทนที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Abe, E. N., Fields, Z., & Abe, I. I. (2017). The efficacy of wellness programmes as work-life balance strategies in the South African public service. Journal of Economics and Behavioral Studies, 8(6), 52-67. https://doi.org/10.22610/jebs.v8i6(J).1483

Corbin, J., & Strauss, A. (2008). Basics of qualitative research: Techniques and procedures for developing grounded theory (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Crabtree, B. F., & DiCicco ‐ Bloom, B. (2006). The Qualitative Research Interview. Medical Education. 40(4), 314-321. https://doi.org/10.1111/j.1365-2929.2006.02418.x

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2007). Designing and conducting mixed methods research. Thousand Oaks, CA: Sage.

Georgakopoulos, A., & Kelly, M. P. (2017). Tackling workplace bullying: A scholarship of engagement study of workplace wellness as a system. International Journal of Workplace Health Management, 10(6), 450–474. https://doi.org/10.1108/IJWHM-11-2016-0081

Guest, G., Bunce, A., & Johnson, L. (2006). How many interview are enough? An experiment with data saturation and variability. Field Methods, 18(1), 59-82.

Halloran, T. (2017). The Impact Of a Workplace Wellness Program On Employees In a University Setting. (Master’s thesis). East Carolina University, North Carolina.

Hettler, B. (1984). Wellness: Encouraging a lifetime pursuit of excellence. Health Values, 8(4), 13-17.

Jones, D., Molitor, D., & Reif, J. (2019). What do workplace wellness programs do? Evidence from the Illinois workplace wellness study. The Quarterly Journal of Economics, 134(4), 1747-1791. https://doi.org/10.1093%2Fqje%2Fqjz023

Lichtman, M. (2013). Qualitative research in education: A user’s guide (3rd ed.). LA: Sage.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Beverly Hills, CA: Sage.

McCart, Andrew L. (2017). Evaluating work place wellness in greater Louisville's technology organizations: a case study. Electronic Theses and Dissertations. Paper2831. https://doi.org/10.18297/etd/2831

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1984). Qualitative data analysis: A sourcebook of new methods. London: Sage.

Myers, J. E., & Sweeney, T. J. (2005). Manual for the five factor wellness inventory. [n.p.]: Mindgarden.

Priebe, D. (2018). Does perceived wellness influence employee work engagement? examining the effects of wellness in the presence of established individual and workplace predictor variables (Doctoral dissertation). The Ohio State University, Ohio.

Witmer, M. J., & Granello, P. F. (2005). Wellness in Counselor Education and Supervision. In J. E. Myers & T. J. Sweeney (Eds.), Counseling for Wellness: Theory, Research, and Practice. Alexandria, VA: American Counseling Association.