แนวทางการฟื้นฟูทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาและนวดไทยสำหรับวิถีชีวิตใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พรรณาภรณ์ พึ่งจิตต์ประไพ
สุธีรา ศรีเบญจโชติ

บทคัดย่อ

การศึกษาถึงแนวทางฟื้นฟูทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาและนวดไทยสำหรับวิถีชีวิตใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาและนวดไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบัน และเพื่อเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูด้านการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาและนวดไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันสำหรับวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาจะสามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อฟื้นฟูทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาและนวดไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนสำหรับวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้วิจัยได้ใช้กระบวนทัศน์การวิจัยแบบสร้างสรรค์นิยม และยุทธศาสตร์การวิจัยแบบศึกษาปรากฏการณ์ สำหรับเครื่องมือในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาและนวดไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 12 ราย รวมทั้งมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบรอบทิศทาง


ผลการศึกษาพบว่า การจัดการทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภท  สปาและนวดไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยปัจจุบันมีความแตกต่างจากการจัดการทางการตลาดก่อนการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยแนวทางการฟื้นฟูทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทสปาและนวดไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนสำหรับวิถีชีวิตใหม่ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ / บริการที่เหมาะสม การกำหนดอัตราค่าบริการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรมส่งเสริมการขาย การพัฒนาทักษะของบุคลากร การมุ่งเน้นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้บริการ รวมทั้งการจัดองค์ประกอบทางกายภาพตามมาตรฐานทางสุขอนามัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทั้งของภูมิภาคและของประเทศได้ต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นจาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-oie.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). รายชื่อสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนใบอนุญาต 2562. สืบค้นจาก https://spa.hss.moph.go.th

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). รายชื่อสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนใบอนุญาต 2563. สืบค้นจาก https://spa.hss.moph.go.th

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). รายชื่อสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนใบอนุญาต 2564. สืบค้นจาก https://spa.hss.moph.go.th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย. สืบค้นจาก https://www.thailandsha.com/example/en/6.pdf

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.

ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/nesdb_en/main.php?filename=develop_issue

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก http://nscr.nesdc.go.th/

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ข้อมูลนำเสนอสถิตินักท่องเที่ยวไตรมาสที่ 1 - ไตรมาสที่ 4 ปี 2562. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=617

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ข้อมูลนำเสนอสถิตินักท่องเที่ยว เดือนมกราคม – เดือนธันวาคม ปี 2563. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=592

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). ข้อมูลนำเสนอสถิตินักท่องเที่ยวเดือนมกราคม – เดือนธันวาคม ปี 2564. สืบค้นจาก https://www.mot.go.th/news/category/630

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562). โครงการเตรียมศักยภาพแรงงานในภาค อุตสาหกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0. สืบค้นจาก https://www.oie.go.th/view/รายงานการศึกษา/TH-TH

Badoc-Gonzales, B. P., Mandigma, M. B. S., & Tan, J. J. (2022). SME resilience as a catalyst for tourism destinations: A literature review. Journal of Global Entrepreneurship Research, 12, 23-44. https://doi.org.10.1007/s40497-022-00309-1

Acciarini, C., Boccardelli, P., & Vitale, M. (2021). Resilient companies in the time of Covid-19 pandemic: A case study approach. Journal of Entrepreneurship and Public Policy, 10(3), 336-351. https://doi.org/10.1108/JEPP-03-2021-0021

Rogerson, M, C., & Rogerson, M, J. (2020). COVID-19 Tourism Impacts in South Africa: Government and Industry Responses. GeoJournal of Tourism and Geosites, 31(3), 1083-1091. https://doi.org/10.30892/gtg.31321-544

Boyd, E, D., Kannan, P, K., & Slotegraaf, J, R. (2019). Branded apps and their impact on firm value: A design perspective. Journal of Marketing Research, 56(1), 76-88. https://doi.org/10.1177/0022243718820588

Das, G., Jain, P, S., Maheswaran, D., Slotegraaf, J, R., & Srinivasan, R. (2021). Pandemics and marketing: insights, impacts, and research opportunities. Journal of the Academy of Marketing Science, 49, 835-854. https://doi.org/10.1007/s11747-021-00786-y

Dahles, H., & Susilowati, P, T. (2015). Business resilience in times of growth and crisis. Annals of Tourism Research, 51, 34-50. https://doi.org/10.1016/j.annas.2015.01.002

Milaković, K, I. (2021). Exploring consumer resilience during COVID-19: Demographics, consumer optimism, innovativeness and online buying. Economic and Business Review, 23(4), 260-272. https://doi.org/10.15458/85451.1291

Keller, L, K., Sternthal, B., & Tybout, M, A. (2002). Three questions you need to ask about your brand. Harvard Business Review, 80(9), 80–125.

Huda, M. (2022). Digital marketplace for tourism resilience in the pandemic age: Voices from budget hotel customers. International Journal of Organizational Analysis, 31(1), 149-167. https://doi.org/10.1108/IJOA-10-2021-2987

Hamilton, R., & Price, L, L. (2019). Consumer journeys: developing customer-based straegy. Journal of the Academy of Marketing Science, 47, 187-191. https://doi.org/10.1007/s11747-019-00636-y

Dolan, J, R. (1995). How do you know when the prices is right?. Harvard Business Review, 73(5), 174-183.

Vasudevan, S. (2021). Heal the World: Wellness Tourism and Market Readiness in Post Corona Travel. University of South Florida M3 Center Publishing. https://scholarcommons.usf.edu/m3publishing/vol16/iss9781955833004/1doi.org/10.5038/9781955833004

Wongmonta, S. (2021). Post-COVID 19 tourism recovery and resilience: Thailand context. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 5(2), 137-148.

Davenport, T., Guha, A., Grewal, D., & Bressgott, T. (2020). How artificial intelligence will change the future of marketing. Journal of the Academy of Marketing Science, 48, 24-42. https://doi.org/10.1007/s11747-019-00696-0

United Nations World Tourism Organization. (2021). Tourism in Post-Pandemic World. Retreived from https://www.imf.org/en/News/Articles/2021/02/04/na022521

World Economic Forum. (2016). Designing a Seamless Integrated Mobility System: A Manifesto for Transforming Passenger and Goods Mobility [PDF file]. Retrieved from https://www3.weforum.org/docs/Designing_SIMSystem_Manifesto_Transforming_Passenger_Goods_Mobility.pdf

Kristiana, Y., Pramono, R., & Brian, R. (2021). Adaptation strategy of tourism industry stakeholders during the COVID-19 pandemic: A case study in Indonesia. Journal of Asian Finance, Economic and Business, 8(4), 213-233. https://doi.org/10.10106/jafeb.2012.vol8.no4.0213