การจัดการทรัพยากรท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ยุทธการ ไวยอาภา
กวินรัตน์ อัฐวงศ์ชยากร
มนสิชา อินทจักร
เกวลิน หนูสุทธิ์
วลัยลดา ถาวรมงคลกิจ
เทพ ปรมินทร์ พงษ์พานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพทรัพยากรท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยว 2) ศึกษานวัตกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน และ 3) เพื่อนำนวัตกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมาใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบประเมิน แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย ตลอดจนแบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยโป่ง จำนวน 19 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากคุณสมบัติผู้นำชุมชน และมีประสบการณ์การทำงานในกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยโป่ง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประเมินด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ สัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า ทรัพยากรในชุมชนบ้านห้วยโป่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ 1) เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติภายในป่าชุมชน จำนวน 2 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเดินป่าเลียบริมน้ำ มีศักยภาพมากที่สุดในการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน (gif.latex?\bar{x} = 4.30) ส่วนเส้นทางเดินป่าเลียบสันดอย มีศักยภาพมากที่สุดในด้านความมีเอกลักษณ์ คุณค่าเฉพาะการท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{x} = 4.50) และการเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ/นันทนาการของชุมชนท้องถิ่น (gif.latex?\bar{x} = 4.30) 2) ลานกางเต็นท์ของชุมชนห้วยโป่ง มีศักยภาพมากที่สุดในด้านความ  มีเอกลักษณ์ คุณค่าเฉพาะการท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{x} = 4.50) ส่วนผลการศึกษานวัตกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน และการนำนวัตกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมาใช้ในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านห้วยโป่งผ่านกระบวนการออกแบบความคิดร่วมกันของกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้ คือ กิจกรรมท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน จำนวน 3 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) รูปแบบกิจกรรมนำเที่ยวเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ โดยใช้การบรรยายจากผู้สื่อความหมายท้องถิ่นประกอบกับการใช้ QR Code เพื่อแสดงข้อมูลทรัพยากรป่าชุมชน จากฐานข้อมูลที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ 2) การจัดงานเทศกาลมหัศจรรย์แห่ง เชื้อรา 3) กิจกรรมการให้บริการลานกางเต็นท์แก่นักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/500

กรมป่าไม้. (2546). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ไม่มีวันตาย. กรุงเทพฯ: ซี.พี.บุ๊ค สแตนดาร์ด.

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์. (2562). INNOVATION … Making Creativity into Value Reality. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

พิจาริณี โล่ชัยยะกูล. (2555). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : การท่องเที่ยวที่มีคุณค่าสูง และสร้างผลกระทบทางลบต่ำ. สืบค้นจาก www.etatjournal.com/web/menu-read-web-tatjournal?catid=0&id=449

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์. (2551). เอกสารการสอนเศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2554). การท่องเที่ยวไทย จากนโยบายสู่รากหญ้า. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.

วราภรณ์ ดวงแสง. (2553). ผลกระทบและการปรับตัวของครัวเรือนในพื้นที่การท่องเที่ยวหนาแน่น: กรณีศึกษาอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2562). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2562). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน. (2565). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ตำบลแม่วิน อำเภอ แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://www.maewin.net/index.php?lang=&ge=view_menu&gen_lang=190312120215