ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีหน่วยการวิเคราะห์ระดับบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้รับบริการงานบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยจำนวน 4 งานบริการ ตามตัวชี้วัด 4 ด้าน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่องานบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามตัวชี้วัดการประเมินความพึงพอใจงานบริการสาธารณะ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน โดยตัวชี้วัดที่มีระดับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านช่องทางการให้บริการ รองลงมา คือ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ
2) เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละงาน พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดอันดับแรก คือ งานบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่ประชากรสุนัข/แมวในพื้นที่ และการบริการทำหมันสุนัข/แมวจรจัดเพื่อควบคุมปริมาณการเกิดในพื้นที่ อันดับที่สอง คือ งานการจัดการศึกษาปฐมวัย อันดับที่สาม คือ งานด้านระบบน้ำประปา และ น้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและอันดับสุดท้าย คือ งานบริการด้านไฟฟ้าและแสงสว่าง
นำไปสู่การเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่เทศบาลตำบลสะบ้าย้อยในการพัฒนากลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะบนพื้นฐานแนวคิดวงจรการบริหารงานคุณภาพเพื่อควบคุมคุณภาพการบริการสาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการของบริบทพื้นที่อย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปี พ.ศ. 2564 Local Performance Assessment (LPA) Annual Report 2021 สาระสำคัญจากผลการประเมิน LPA ประจำปี พ.ศ. 2564). สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2022/7/2345_6254.pdf
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทยว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ดวงพร เทียนถาวร, ธัญญา พากเพียร, สยาม ประจุดทะศรี, มติ นารารมย์, และ ปาณิสรา ประจุดทะศรี. (2563). การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการต่อการให้บริการ ของเทศบาลตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร. สืบค้นจาก https://www.songdaocity.go.th/index/add_file/IEh0hurThu24326.pdf
ทวนธง ครุฑจ้อน, และ ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ. (2565). การสํารวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อ การให้บริการสาธารณะของเทศบาลตําบลสะบ้าย้อย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(3), 47-62.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2564). รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของเทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. สืบค้นจาก https://www.pptc.go.th/report/service-satisfaction/content/97
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (2561). การสำรวจความพึงพอใจการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. สืบค้นจาก https://www.phokaoton.go.th
วุฒิพงษ์ ฮามวงศ์, ชำนาญวิทย์ พรหมโคตร, อรอนงค์ พวงชมพู, ชลันธร วิชาศิลป์, พิทักษ์พล พรเอนก, พิลาศลักษ์ ปานประเสริฐ,...วาสนา สกุลโพน. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลบ้านต้ายอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. สืบค้นจาก https://www.bantai.go.th/index/add_file/cAQGWqHThu 44914.pdf.
วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอํานาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2565). ประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่อง ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก
https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/270247029ca78912fa58279be1ab7a3cc4bbe26.pdf
สำนักทะเบียนเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย. (2565). ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยที่มีชื่อในระบบทะเบียนราษฎร์. สืบค้นจาก https://www.sabayoicity.go.th/s_plan.
สุวิมล ติรกานันท์. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรทัย ก๊กผล. (2559). Urbanization เมื่อเมืองกลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (3rd ed.). New York, NY: The Guilford Press.
Wiersma, W., & Jurs, S. G. (2009). Research Methods in Education an Introduction (9th ed.). Boston, MA: Pearson Education.
Yamane, T. (1967). Statistics An Introductory Analysis (2nd ed.). New York, NY: Harper and Row.