การยอมรับบทบาทของผู้นำสตรีในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ บ้านแม่แดดน้อย ตำบลแม่แดด อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทที่สำคัญของผู้นำสตรีในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ บ้านแม่แดดน้อย 2) ศึกษาระดับการยอมรับบทบาทและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ บ้านแม่แดดน้อย และ 3) เสนอบทบาทที่เหมาะสมของผู้นำชุมชนสตรีท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสมการถดถอยพหุคูณ ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำสตรี ชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ บทบาทที่สำคัญของผู้นำสตรีในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ บ้านแม่แดดน้อย มี 6 ด้าน คือ 1) การปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย 2) การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ 3) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) ความยุติธรรมและการจัดการความขัดแย้ง 5) การบริการ และ 6) ด้านจิตวิญญาณ โดยระดับการยอมรับบทบาทของผู้นำสตรีอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน การศึกษาพบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านอาชีพ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมจะส่งผลต่อการยอมรับบทบาทของผู้นำสตรีในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยได้ข้อเสนอว่า ผู้นำสตรีควรแสดงบทบาทการพัฒนาทั้ง 6 ด้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมอาชีพและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์การเกษตรที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน อีกทั้งควรมีการพัฒนาภาวะผู้นำและส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อสร้างการยอมรับของบทบาทของผู้นำสตรีในการพัฒนาชุมชนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กมลชนก สัจจาวัฒนา, และ ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2559). บทบาทของผู้นำสตรีที่ประสบความสำเร็จ ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต (RSU National Research Conference 2016) (น. 919-926). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
กองทุนเสมอภาคเพื่อการศึกษา. (2564). ยุติความเหลื่อมล้ำในอำเภอกัลยาณิวัฒนาผ่านโครงการพัฒนาอาชีพทอผ้าท้องถิ่นที่ทำให้กลุ่มสตรีฯ เหนียวแน่นกันมากขึ้น. โครงการการพัฒนาอาชีพของกลุ่มสตรีปกาเกอะญอผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนทรัพย์. เอกสารเผยแพร่. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/communities/ontheway-32/
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ, และ พระถนัด วฑฺฒโน. (2556). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6, 527-538.
ชญากนก จันทะฟอง, และ วีรนุช พรมจักร. (2565). บทบาทผู้นำสตรีทางการเมืองในภาคอีสาน. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2(5), 74-87.
ชิตาภา สุขพลำ. (2549). ทัศนคติและการยอมรับ บทบาทการเป็นผู้นำท้องถิ่นของสตรีในเขตจังหวัดชลบุรี. (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนพัฒน์ จงมีสุข. (2554). ศึกษาระดับการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 60-74.
ธัญญธร บุญอภัย, พักตร์วิภา โพธิ์ศรี, และ สมหมาย แจ่มกระจ่าง. (2563). สตรีในการพัฒนาสังคม. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 5(2), 291-301.
บงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2562). ภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชนแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(3), 102-113.
ประวิตร โหรา, และ ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย. (2558). การเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์การของเพศหญิง: ความเป็นไปได้ที่ไม่แตกต่าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 1-11.
มาลี พฤกษ์พงศาวลี. (2551). ย้อนรอยสิทธิความเป็นคนของผู้หญิง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ผู้นำในการพัฒนาชุมชน 4 ประเภท. สืบค้นจาก https://www.randdcreation.com/content/3116/ผู้นำในการพัฒนาชุมชน-4-ประเภท
ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2560). แนวโน้มความท้าทายในสายงาน HR ยุคใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ์ เชื้อคำ. (2562). ‘เอาะเม ออที’ เข้าใจปกาเกอะญอผ่านอาหารสามจานที่บ้านเล็ก. สืบค้นจาก https://krua.co/food_story
เอมอร แสนภูวา. (2559). บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
Allport, G. W. (1937). Personality: A Psychological Interpretation. New York, NY: Holt.
Eagly, A. & Wood, W. (2012). Social Role Theory. In P. Van Lange, T. Higgins and A. Kruglanski (Eds.), The Handbook of Theories of Social Psychology (pp.458-476). California, CA: Sage Publication Ltd
Eckes, T., & Truther, H. M. (Eds.). (2000). The Developmental Social Psychology of Gender. T. Eckes and N. M. Truther (Eds.), New York, NY: Psychology Press.
Hogg, M. A. (2000). Social Identity and Social Comparison. In J. Suls & L. Wheeler (Eds.), Handbook of Social Comparison: Theory and Research (pp. 401–421). New York, NY: Kluwer Academic.
Horner, M. (1997). Leadership Theory: Past, Present and Future. Team Performance Management, 3(4), 270-287.
Johns, H. E. & Moser, R. H. (2001). From Trait to Transformation: The Evolution of Leadership Theories. Education, 110(1), 115-122.
Meksawan, T. (1994). The Roles of Thai Women in National Development. Workshop Report. Bangkok: Bureaucratic Reform Committee.
Tavachalee, R. Pulanram, P. & Phathong, K. (2019). The Role of Women’s with Thai Local Development. Asian Political Science Review, 3(2), 10-21.
Stogdill, R. M. (1974). Handbook of Leadership. New York, NY: McGraw-Hill.
Suphot Maikuntha. (2020). The Fascination of the Karen Woven Fabric (Pw aka nyaw): Beauty on the Way of Life of the Ethnography. Walailak Abode of Culture Journal, 20(1), 40-48.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.