ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือของภาคส่วน เพื่อนำมวยไทยสู่การเป็นกีฬาโอลิมปิก การเป็นมรดกโลก และสนับสนุนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการส่งออก และการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อจัดทำยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนเพื่อนำมวยไทยสู่การเป็นกีฬาโอลิมปิก 2) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนเพื่อนำมวยไทยสู่การเป็นมรดกโลก 3) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนเพื่อนำมวยไทยสู่การสนับสนุนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนเพื่อ นำมวยไทยสู่การเป็นกีฬาโอลิมปิกได้ข้อเสนอที่เป็นยุทธศาสตร์ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ที่ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เสริมสร้างอัตลักษณ์นักมวย การพัฒนาค่ายมวยให้มีมาตรฐานการพัฒนาศักยภาพครูมวยผู้ฝึกสอน การพัฒนาผู้จัดการนักมวยมืออาชีพ การพัฒนามาตรฐานการให้คะแนนการตัดสิน การพัฒนาศักยภาพผู้จัดการแข่งขัน และนายสนามมวยเชิงคุณค่า การบริหารจัดการและสร้างเครือข่าย ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในระดับกระทรวง 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนเพื่อนำมวยไทยสู่การเป็นมรดกโลก ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ การสังคายนาชำระประวัติศาสตร์มวยไทย การตอกย้ำร่องรอยมวยไทยวัฒนธรรมไทย การสร้างอัตลักษณ์คุณค่ามวยไทย การสืบสานต่อยอดพัฒนามวยไทยฐานะเป็นสิ่งหายาก การสร้างความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมวยไทยไปสู่มรดกไทย และเพื่อนำมวยไทยสู่การสนับสนุนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวได้ข้อเสนอที่เป็นยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ศิลปะมวยไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยรัฐ ความร่วมมือของภาคส่วนธุรกิจมวยไทยสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ศิลปะมวยไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แบรนด์มวยไทยเพื่อสร้างสรรค์ และยุทธศาสตร์มวยไทยเพื่อสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉับที่ 4 (พ.ศ. 2550 -2554). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
จรัสเดช อุลิต. (2548). คู่มือการฝึกกีฬามวยไทย. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
ณัฎฐณิชา ณ นคร. (2561). การเตรียมความพร้อมกีฬามวยไทยสู่โอลิมปิก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2), 350-369.
นปภัสร์ ชูสุวรรณ. (2559). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาชมมวยไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
นาคิน คำศรี, รังสฤษฏ์ จำเริญ, และ ประวิทย์ ทองไชย. (2565). รูปแบบธุรกิจการท่องเที่ยว เชิงกีฬามวยไทย: เมืองกีฬาจังหวัดชลบุรี. HRD Journal, 12(2), 75-85.
พงศ์ธร แสงวิภาค, และ ผกามาศ รัตนบุษย์. (2560). การส่งเสริมศิลปะมวยไทย ตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 6(2), 168-201.
พัชรมน รักษพลเดช. (2559). รูปแบบการจัดการธุรกิจมวยไทยอาชีพในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.
พรพิท เกียรติวัฒนา. (2561). ธุรกิจ มวยไทย 4.0 ต้นแบบธุรกิจกีฬาเกื้อหนุนธุรกิจท่องเที่ยว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ไปไกลกว่าเดิม. สืบค้นจาก https://www.salika.co/2019/01/03/thailand-boxing-business-4-0/
รุจ แสงอุดม. (2559). แนวทางการพัฒนามวยไทยเพื่อรองรับการเป็นกีฬาสากล (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.