ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบัวขาววิลเลจให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของโลกด้านการศึกษาการเกษตรอาหารปลอดภัยและศิลปวัฒนธรรมมวยไทยตามแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบัวขาววิลเลจให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของโลกด้านการศึกษา การเกษตรอาหารปลอดภัย และศิลปวัฒนธรรมมวยไทย ตามแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม 2) เพื่อนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการฯสู่การปฏิบัติ โดยการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาและการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา การนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ พบว่า การยุทธศาสตร์การพัฒนาการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบัวขาววิลเลจให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของโลกด้านการศึกษา การเกษตรอาหารปลอดภัย และศิลปวัฒนธรรมมวยไทย ตามแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นโครงการที่ทุกภาคส่วนให้การสนับสนุนในการพัฒนา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับทิศทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวด้วยพลังละมุน 5F และเป็นโครงการที่พัฒนาบนจุดแข็งและโอกาสประเทศไทย คือ บัวขาวเป็นนักมวยมีศักยภาพและชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรมมวยไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีทุนธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีชื่อเสียงการผลิตอาหารเลี้ยงโลก โครงการทำธุรกิจเพื่อสังคมช่วยปัญหาลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโครงการมีความเป็นไปได้ในการลงทุน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมการท่องเที่ยว. (2558). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ.2560–2564. กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.
กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561-2564) ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพีก็อปปี้ปริ้น.
จตุพร จุ้ยใจงาม. (2557). กิจการเพื่อสังคม แนวโน้มระบอบทุนนิยมสมัยใหม่ กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(3), 124-137.
เฉลียว บุรีภักดี. (2542). ทฤษฎีระบบและการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ.
พิชญ์สินี ชมพูดำ. (2542). การวิเคราะห์ความต้องการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดการศึกษาสงเคราะห์ในภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
รุจ แสงอุดม. (2559). แนวทางการพัฒนามวยไทยเพื่อรองรับการเป็นกีฬาสากล. กรุงเทพฯ: หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
เสรี พงศ์พิศ. (2547). ร้อยคำที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
World Economic Forum. (2017). The Global Competitiveness Report 2017-2018. Retrieved from https://www3.weforum.org/docs/GCR2017-2018/05FullReport/TheGlobalCompetitivenessReport2017%E2%80%932018.pdf