การสื่อสารทางการเมืองเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุรพล พรมกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาอุปสรรค และปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการสื่อสารทางการเมืองเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการเมืองเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อวิเคราะห์การนำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบและการนำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า


1) คณะผู้บริหารได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสาร สื่อที่ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย สื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อพื้นบ้าน สื่อดิจิทัล ปัญหาอุปสรรค พบว่า การสื่อสารในบางเรื่องมีวิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม เนื้อหาสารขาดการจัดลำดับที่ดี ยากต่อความเข้าใจ การใช้ช่องทางสื่อสารไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ ผู้รับสารขาดความรู้และขาดความพร้อมในสารที่จะรับ ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการสื่อสารคือ ทัศนคติ ทักษะในการสื่อสาร ความรู้ สถานภาพทางสังคม ปัจจัยของสาร ปัจจัยของสื่อ


2) ผลการพัฒนารูปแบบการสื่อสารทางการเมืองเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พบว่า รูปแบบมี 4 องค์ประกอบ คือ 2.1) ผู้ส่งสาร มี 3 องค์ประกอบหลัก มี 14 องค์ประกอบย่อย  2.2) สาร มี 6 องค์ประกอบหลัก มี 12 องค์ประกอบย่อย 2.3) ช่องทางสื่อสาร มี 5 องค์ประกอบหลัก มี 16 องค์ประกอบย่อย 2.4) ผู้รับสาร มี 5 องค์ประกอบหลัก มี 12 องค์ประกอบย่อย ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด


3) ผลการวิเคราะห์การนำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มเป้าหมาย พบว่า คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มเป้าหมายเมื่อได้รับการพัฒนาตามรูปแบบแล้วมีระดับค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ เวชชานุเคราะห์, และ นิธิดา แสงสิงแก้ว. (2556). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. สืบค้นจาก http://203.131.210.100/ejournal/wp-content/uploads/2015/07/JCIS57002.pdf

กุลิสรา กฤตวรกาญจน์. (2522). การสื่อสารเพื่อการพัฒนากับการพัฒนาชนบทไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, (1)2, 20.

เกศสุดา สิทธิสันติกุล, ปัณณพร ไพบูลวัฒนกิจ, และ กิ่งกาญจน์ เจริญกุล. (2562). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่อย่างมีส่วนร่วม: โครงการ Spark U เชียงใหม่ ปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(2), 292.

โกวิทย์ พวงงาม. (2551). การปกครองท้องถิ่นไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส.

เจริญเนตร แสงดวงแข. (2563). ผลลัพธ์การสร้างนักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้าง จิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารศาสตร์, (13)3, 40-41.

ชนินธร ม้าทอง. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, (2)1, 163-175.

ชูศักดิ์ ชูช่วย. (2533). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พระมหาปรัชญ์ นภภูริสิริ. (2565). การมีส่วนร่วมในการสื่อสารทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พิชิต ทนงค์. (2550). การสื่อสารทางการเมืองกับการสร้างอัตลักษณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

วราพร ชมศรี, และ กันยารัตน์ แก้วเชียร. (2018). การรับสารสนเทศทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น. ใน Proceedings of 14th International Conference on Humanities and Social Sciences 2018 (IC-HUSO 2018) (น. 863-873). ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2564). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปี พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1M5m1mBae8NVUP286Fuzg8U3kNrJ-EhyT/view?usp=sharing

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1GPwu9T2doqfTh9GFZa86c-LMp5iJ5rlb/view?usp=sharing

สุมาลี สุวรรณกร. (2559). แนวทางการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองขอนแก่น, วารสารการบริหารท้องถิ่น, (9)2, 108-117.

เสถียร เชยประทับ. (2538). การสื่อสารกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร เชยประทับ. (2551). การสื่อสารการเมืองและประชาธิปไตยในสังคมพัฒนาแล้ว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.