การบริหารจัดการชุมชนฐานรากบนฐานการเกษตรอินทรีย์เพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจชุมชน ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธิดารัตน์ ชลประเสริฐสุข
วิทยา ดวงธิมา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนตามหลักเกษตรอินทรีย์สำหรับพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและประเทศ 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจการเกษตร การนำประโยชน์ไปใช้ต่อชุมชน ผ่านการบูรณาการกับการเรียนการสอนด้านกฎหมายธุรกิจ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการต่อยอดการเกษตรไปสู่เชิงพาณิชย์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย แบ่งเป็น 3 ช่วงในการดำเนินการ  ได้แก่ช่วงที่ 1 วางแผนและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ช่วงที่ 2     ภาคข้อมูลและชุดความรู้ และช่วงที่ 3 การบูรณาการและการต่อยอด โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (population and sampling) จำนวน 12 คน  สามารถจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างจากหน่วยงานภาครัฐ/องค์กรที่เกี่ยวข้อง 2) กลุ่มตัวอย่างจากภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม ราย 3) กลุ่มตัวอย่างจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ 4) กลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกร 5) กลุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการ และ 6) กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภค


ผลวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ตามกลุ่มบันได 9 ขั้น พื้นที่ตำบลออนกลางนั้นอยู่ในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 และกำลังอยู่ในขั้นตอนของกลุ่มที่ 3 ของขั้นที่ 8 คือการขาย เพื่อสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่เพิ่มเติม การทำเกษตรยั่งยืนบนพื้นฐานการเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจชุมชน การต่อยอดสร้างตลาดและการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ การนำหลักการบริหารจัดการชุมชนฐานรากบนฐานการเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะของพื้นที่หรือหน่วยงานท้องถิ่นที่นำไปสู่แผนในการส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านวิจัย บริการวิชาการด้านการเกษตรภายใต้ BCG Model 2) ปัจจัยที่ประสบผลสำเร็จสู่ชุมชนที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กันมากที่สุดระหว่างทฤษฎี บันได 9 ขั้นนั้น ภาพรวม   ถือว่าลักษณะทางภูมิสังคมของชุมชนมีความสัมพันธ์กับธุรกิจเกษตร การนำประโยชน์ไปใช้ต่อชุมชนผ่านการบูรณาการกับการเรียนการสอนด้านกฎหมายธุรกิจซึ่งถือได้ว่าการนำไปสู่การเป็นชุมชนที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) แนวทางการพัฒนาให้ชุมชนอยู่ได้โดยการทำเกษตรแบบยั่งยืนบนพื้นฐานการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจชุมชน (ขั้นที่ 8) ของการขายหรือต่อยอดการเกษตรไปสู่เชิงพาณิชย์ผ่านเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ แต่ก็อาศัยปัจจัยจากภายนอกให้น้อยที่สุดเพื่อหาวิธีการป้องกันการขยายตัวของเมืองแบบก้าวกระโดด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม จันทร์แก้ว. (2539). หลักการจัดการลุ่มน้ำ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2547). วาทกรรมของเมืองผ่านโครงสร้างเชิงสัณฐาน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 41(2), 63-76.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์. (2539). ทำเมืองให้น่าอยู่: วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และความหวังสำหรับเมืองที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ. มูลนิธิโกมลคีมทอง.

วิทยา ดวงธิมา, จุฑารัตน์ ทัศการ, พันธ์ศักดิ์ ภักดี, อรทัย มิ่งธิผล, พิชญาภา ธัมมิกะกุล, และ ปิยะนุช เจดีย์ยอด. (2563). การออกแบบสถาปัตยกรรมผ่านกระบวนการออกแบบเชิงภูมิสังคม. ใน การประชุมวิชาการ ประจำปี 2563 The 11th Built Environmental Research Associates Conference 2020 (BERAC 11) (น.186-194). กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต).

วิทยา ดวงธิมา, และ มานัส ศรีวณิช. (2561). การวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่และการจัดทำผังเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่เหมาะสม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 7 “Entrepreneurial University” (น.1128-1138). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิทยา ดวงธิมา, และ ยุทธภูมิ เผ่าจินดา. (2561) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ อ.สันทราย จ. เชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิทยาพร ภักดีฤทธิบุตร, และ วิทยา ดวงธิมา. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ประสบผลสำเร็จของชุมชนต้นแบบที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ใน การประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 The 8th Built Environmental Research Associates Conference 2017 (BERAC 8) (น. 34-40). กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต).

ศดานนท์ วัตตธรรม, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์, และ ธีรพร ทองขะโชค. (2566). ต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(1), 1-19.

สมเกียรติ ไตรสรณปัญญา. (2555). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเกษตรอินทรีย์และการสร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าวอินทรีย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 4(3), 55-62.

สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2563). เกษตรอินทรีย์คืออะไรและทําไมต้องเกษตรอินทรีย์?. สืบค้นจาก https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=17

Rapoport, A. (1977). Human Environment Aspects of Urban Form. New York, NY; Pergamon Press.

Hillier, B., & Hanson, J. (1984). The Social Logic of Space. London: Cambridge University Press.