การส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม: ประสบการณ์จากองค์กรชุมชนในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

จิระพงค์ ไชยซาววงค์
จักรพงษ์ พวงงามชื่น

บทคัดย่อ

ทิศทางการพัฒนาประเทศที่ผ่านมามุ่งเน้นการน้อมอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางปฏิบัติ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกระดับโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษากลยุทธ์ในการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลย้อนกลับสู่ประชาชน และปัจจัยเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนจาก 2 องค์กรชุมชนภาคเหนือตอนบน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใน 3 ขั้นตอนคือ การเตรียมการ การดำเนินการ และการติดตามและประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยชุดคำถาม แบบสังเกตการณ์ และการจัดเวทีประชาคม ร่วมกับเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่มย่อย และการถอดบทเรียนจากประชาชน 240 คน  ปราชญ์ชาวบ้าน 8 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาครัฐรวม 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ      เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงความหมาย


ผลการวิจัยพบว่า  2 กลยุทธ์หลักในการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนได้แก่ 1) การบริหารจัดการองค์กรที่มีคณะกรรมการบริหารที่เหมาะสมและการบริหารงบประมาณที่โปร่งใส และ 2) วิธีการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ขั้นตอนคือ การศึกษาดูงาน การจัดตั้งองค์กรชุมชน หลักสูตรและการจัดฝึกอบรม และการให้บริการถ่ายทอดความรู้ โดยเมื่อพิจารณาถึงผลย้อนกลับสู่ประชาชนพบว่า ประชาชนมากกว่าสองในสามสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลดการเผา แยกขยะ และปลูกผักสวนครัว นอกจากนี้ยังพบว่า ผลงานเชิงประจักษ์ขององค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากรและเจ้าหน้าที่ ตลอดจนหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นปัจจัยหลักที่เอื้อต่อการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. (2564). การจัดทำงานวิจัยในหัวข้อ “ศึกษาแนวทางการเผยแพร่และการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเอเชียใต้ กรณีศึกษาประเทศศรีลังกาและภูฏาน. สืบค้นจาก https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/content/การจัดทำงานวิจัยในหัวข้อ-ศึกษาแนวทางการเผยแพร่และก?cate=5d7da8d015e39c3fbc007415

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2566). ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนแม่ระวาน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก. สืบค้นจาก https://engymeedee.egat.co.th/product?shopId=22

จตุรงค์ อินทรรุ่ง, และ นภาเดช บุญเชิดชู. (2564). การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 12(1), 110-128. สืบค้นจาก http://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/12.1jssr7%281%29.pdf

จักรพงษ์ พวงงามชื่น, และ จิระพงค์ ไชยซาววงค์. (2560). การเปรียบเทียบยุทธศาสตร์การส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติบ้านทุ่งจำเริง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่และศูนย์เครื่อข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนแม่ระวาน อำเภอสาวเงา จังหวัดตาก (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธนบดินทร์ วงษ์เมืองแก่น. (2555). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมี ส่วนร่วมของศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนแม่ระวาน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นงลักษณ์ ใจฉลาด, และ อนันต์ นามทองเต้น. (2565). การจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 5(96), 277-288. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/257306/174497

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล, สมคิด พุ่มทุเรียน, และ ณวพงศ์ธร นิติภูวนนท์. (2564). รูปแบบการพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 307-323. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/download/248650/170348/887957

ปรารถนา อินทวงศ์, และ โชติ บดีรัฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาหมู่บ้านย่านใหญ่และหมู่บ้านบมราช ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 7(2), 1-14. https://so06.tcithaijo.org/index.php/Vanam_434/article/download/246160/167854/871274

ปริชาติ คุณปลื้ม. (2564). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 50-61. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/255562/171660

ศิริวรรณ เสรีรันต์. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สงวนศักดิ์ จ๊ะสุนา. (2563). การศึกษาโครงสร้างองค์กร บรรยากาศในการทำงาน และเพื่อนร่วมงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของกำลังพลในหน่วยงานแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

สารนันท์ คำมี, สัญญา เคณาภูมิ, และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 1-12. สืบค้นจาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/download/2340/1721/16495

สำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=5748&filename=develop_issue

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564 และ 2565). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=6420&filename=index

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13

สุมณทิพย์ สามิภักดิ์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างองค์การกับพฤติกรรมที่แสดงถึงความพึงพอใจในการทำงานและระดับความสุขของพนักงาน: กรณีศึกษาพนักงานในบริษัทในพื้นที่แขวงสีลม (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

อรวรรณ ป้อมคำ. (2561). การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. สืบค้นจาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620925_132232_3434.pdf

Appleton, J. V. (1995). Analyzing Qualitative Interview Data: Addressing Issues of Validity and Reliability. Journal of Advanced Nursing, 22(5), 993-997.

Poung-ngamchuen J., & Bowjoom T. (2023). The Feasibility Synthesis of Growing Hemp Instead of Maize to Reduce Smog from Maize Stubble Burning in Northern Thailand. Universal Journal of Agricultural Research, 11(2), 230-240. Retrieved from https://www.hrpub.org/download/20230330/UJAR2-10429615.pdf