การพัฒนาตัวแบบการนำโครงการตำบลสุขภาวะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพไปปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงการตำบลสุขภาวะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเพื่อพัฒนาตัวแบบการนำโครงการตำบลสุขภาวะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพไปปฏิบัติ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้นำองค์การและบุคลากรในโครงการตำบลสุขภาวะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 2 พื้นที่ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน และ เทศบาลตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น และผู้ที่กำหนดนโยบายในการดำเนินงานโครงการตำบลสุขภาวะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งสิ้น 34 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลจากการวิจัย มีข้อค้นพบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้รูปแบบการทำงานในท้องถิ่นแบบ "P4ASSION Model" ประกอบด้วย 1) การจัดทำแผนชุมชน (Plan of Community Development) 2) การมีส่วนร่วมทางสังคม (Participation) 3) ทุนทางกายภาพ (Physical Capital) 4) การจัดการความรู้ (Positive of Knowledge Management) 5) ผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Agent of Change) 6) ทุนทางสังคม (Social Capital) 7) การจัดการตนเองของชุมชน (Self-Management Community) 8) การสร้างเครือข่ายภายใน (Internal Community Networking) 9) การจัดตั้งองค์การ (Organization) และ 10) การสร้างเครือข่ายภายนอก (Networking of External Community) มีส่วนในการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้โดยอาศัยความร่วมมือในพื้นที่ จะช่วยสร้างความร่วมมือขององค์กรหลักในพื้นที่ (ท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ) ให้ชุมชนบรรลุเป้าหมายการสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กนิษฐา บุญประคอง, และ จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2562) การจัดการความรู้สู่ชุมชนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 12(1), 1-16.
ธีระวัฒน์ จันทึก, จิรวัธ ศิริศักดิ์สมบูรณ์, และ กนกอร เนตรชู. (2559). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 4(2), 52-59.
ประเวศ วะสี. (2555). ทิศทางใหม่ประเทศไทย : ทิศทางใหม่ของการศึกษาชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
ปาริชาติ ศิวะรักษ์. (2556). กำเนิดกองทุน สสส. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Books/401/กำเนิดกองทุน+สสส.+(ฉบับปรับปรุง).html
ปิยะวัฒน์ เจริญศักดิ์. (2564). ความสุขและความผูกพันในการทำงานของพริตตี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองกฏหมาย. (2544). พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544. สืบค้นจาก http://www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=813&func=fileinfo&id=1276
อมราพร สุรการ, และ นิลภา จิระรัตนวรรณะ. (2560). กระบวนการสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานตำบลสุขภาวะของเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(2), 237-254.
Albrecht, S. L. (2012). The influence of job, team and organizational level resources on employee well-being, engagement, commitment, and extra-role performance: Test of a model. International Journal of Manpower, 33(7), 840-853.
Katz, R. (1984). Empowerment and Synergy: Expanding the community's healing resources. Prevention in Human Service, 3, 201-226.
Laverack, G., & Laverack, G. (2001). An identification and interpretation of the organizational aspects of community empowerment. An identification and interpretation of the organizational aspects of community empowerment. Community Development Journal, 36(2), 134-145.
Lin, C. J., Hsieh, T., Yang, C., & Huang, R. (2016). The impact of computer-based procedures on team performance, communication, and situation awareness. International Journal of Industrial Ergonomics, 51, 21-29.
Luang-Ubol, J. (2010). Effects of Social Capital on the Psychosocial Wellbeing Among Thai Adolescents in the Northeast Region of Thailand (Doctoral dissertation). National Institute of Development Administration, Bangkok.
Mansor, M., & Said, I. (2008). Green infrastructure network as social spaces for well-being of urban residents in Taiping, Malaysia. Jurnal Alam Bina, 11(2), 1-18.
Schulte, P. A., Guerin, R. J., Schill, A. L., Bhattacharya, A., Cunningham, T. R., Pandalai, S. P.,... Sthphenson, C. M. (2015). Considerations for Incorporating "Well-Being" in Public Policy for Workers and Workplaces. American Journal of Public health, 105(8), 31-44.