อิทธิพลของความอยู่ดีมีสุขต่อศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุ ในศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องอิทธิพลของความอยู่ดีมีสุขต่อศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุในศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยความอยู่ดีมีสุขที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มา เข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพจากศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) และเก็บข้อมูลใช้วิธีการคัดเลือกแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) ซึ่งเป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกที่อาสาเข้ามามีส่วนร่วมเป็นหน่วยตัวอย่างด้วยความเต็มใจเท่านั้น ทั้งหมด 440 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการแปลความเชิงบรรยาย และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน คือ Multiple Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความอยู่ดีมีสุขมีอิทธิพลทางบวกต่อศักยภาพในการทำงานด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) ด้านความสามารถ (Ability) และด้านพฤติกรรม (Behavior) ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครมากถึงร้อยละ 72 ร้อยละ 66 ร้อยละ 50 และร้อยละ 48 ตามลำดับ ในสามด้านแรกประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพล 2 ตัวแปร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อม รองลงมา คือ ด้านสุขภาพอนามัย ส่วนด้านพฤติกรรม (Behavior) เป็นด้านเดียวที่ประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพล 3 ตัวแปร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อม รองลงมา คือ ด้านสุขภาพอนามัย และสุดท้าย คือ ด้านครอบครัว 2) ภาครัฐควรมีการจัดสรรทรัพยากร สวัสดิการ และการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยเชิงรุกทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างจริงจัง มีการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงคุณค่าและ ขีดความสามารถรวมไปถึงการสนับสนุนแหล่งเงินทุนหมุนเวียน และการลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุในเขตและชุมชนต่างๆ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงานของของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
เกื้อ วงศ์บุญสิน. (2565). ความผกผันทางประชากรกับธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.intaniamagazine.com/aging-society-covid-19/
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
ภัทรนันท์ อุ่นอ่อน. (2564). แนวทางการพัฒนาความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(2), 24-46.
โมรยา วิเศษศร. (2563). ประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 79-94.
ศีลิยา สุขอนันต์. (2563). กลยุทธ์ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุไทย. วารสารสังคมภิวัฒน์, 10(2), 1-17.
สุเนตร สุวรรณละออง. (2560). ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(50), 100-120.
อรสา ธาตวากร. (2563). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในภาวะพฤฒพลังให้เกิดการยังประโยชน์ด้านสังคม. วารสารสังคมภิวัฒน์, 10(2), 39-63.
Dajnoki, K. (2020). Factors influencing well-being at work. Journal of Extension, 47(2), 1-30.
Lee, T. (2021). Factors Influencing Employees' subjective wellbeing and job performance during the COVID-19 Global Pandemic: The Perspective of Social Cognitive Career Theory. Frontiers in Psychology, 11(2), 15-35.
Nadler, L. & Zeace, L. (1991). Development Human Resources. (4th ed.) San Francisco, CA: Jossey-Bass, Inc Publishers.
Wadhwani, K. (2018). A study on factors affecting psychological; well-being at workplace. Hellix, 8(6), 110-130.