นวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่ย่านสร้างสรรค์บนฐานทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี
พระพิทักษ์ ฐานิสฺสโร
รัตติกร ชาญชำนิ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพย่านสร้างสรรค์ของชุมชน 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมเชิงพื้นที่ย่านสร้างสรรค์บนฐานทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก 3) ถ่ายทอดรูปแบบนวัตกรรมและการประเมินความรู้ เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 200 คน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน          


ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพย่านสร้างสรรค์ของชุมชนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านกายภาพ และด้านการจัดการ ตามลำดับ 2) การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเชิงพื้นที่ย่านสร้างสรรค์บนฐานทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รูปแบบที่มีชื่อเรียกว่า “ECAP Model” มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) E= Environment (สภาพแวดล้อม) (2) C= Culture (วัฒนธรรม) (3) A= activity (กิจกรรม) และ (4) P= Person and Community (คนและชุมชน) ซึ่งมีองค์ประกอบร่วม ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพบนฐานทุนทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นผนวกกับจุดแข็งทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างหลากหลายของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนฐานราก องค์ประกอบที่ 2 ยกระดับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นชนเผ่ามาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวกับสินค้าและกิจกรรมท่องเที่ยวของชุมชน ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้แก่คนในท้องถิ่น องค์ประกอบที่ 3 ขับเคลื่อนกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์จากทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถทำความเข้าใจคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ องค์ประกอบที่ 4 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกันภายในชุมชนให้มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ สามารถดึงคนสร้างสรรค์มาเข้าร่วมคิดต่อยอดเพื่อสานต่อเอกลักษณ์ย่านชุมชนให้โดดเด่นมากขึ้น และ 3) การประเมินความรู้ของกลุ่มเป้าหมายจากการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนการอบรมก่อนทดสอบอยู่ในระดับกลาง และหลังการอบรมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ รุ่งสว่าง. (2560). การวิเคราะห์สถานภาพการเป็นเมืองสร้างสรรค์กรณีศึกษาชุมชนเมืองขอนแก่น ราชบุรีและบางแสน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

เกวลิน หนูสุทธิ์. (2562). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานคิดเศรษฐกิจฐานราก. วารสารการบริหารทองถิ่น, 12(3), 482-494.

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). การส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

พีรดร แก้วลาย. (2556). อนาคตเมืองเชียงใหม่: เมื่อการสร้างสรรค์ของท้องถิ่น และเศรษฐกิจโลกเป็นเรื่องเดียวกัน. นิตยสารคิด, 4(6), 12-17.

สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2561-2565) ฉบับทบทวน 2564. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุพัตรา ราษฎร์ศิริ. (2562). การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบ้านรักไทย แม่ฮ่องสอน (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). Draft 20 year strategic framework. Retrieved from www.bedo.or.th/bedo/backend/upload/content/1520496784_7221.pdf

UNESCO. (2016). Creative Cities Network. Retrieved from http://en.unesco.org/creative-cities/home