การจัดการทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

พระมหาสกุล มหาวีโร
พระครูปลัดณฐกร ปฏิภาณเมธี
วราภรณ์ ชนะจันทร์ตา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่วิจัยได้แก่ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 300 คน     ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน      ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนทางพระพุทธศาสนาของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วย   ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนธรรม ศาสนบุคคล และศาสนพิธี ส่วนทุนทางวัฒนธรรมประกอบ ด้วยแหล่งการเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ระบบคุณค่า ค่านิยม ความเชื่อและความศรัทธาของชุมชน สภาพแวดล้อมทางกายภาพและบริบทเชิงพื้นที่ และผลิตภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ 2) แนวทางการจัดการทุนทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ควรรื้อฟื้นวัฒนธรรมของชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมของชุมชนที่กำลังเลือนหายไป  สืบทอดทุนชุมชนให้สามารถดำรงอยู่ต่อไปในสังคมผ่านการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นโดยการเรียนรู้และการปลูกฝังจิตสำนึก ปรับประยุกต์เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้กลยุทธ์ความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น จัดสภาพชุมชนให้มีความพร้อมโดยยกระดับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกเห็นคุณค่าในทุนทางศาสนาและวัฒนธรรม นำเรื่องราวของบุคคลสำคัญ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่เรื่องเล่าขานสืบต่อกันจนเป็นตำนาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน จัดให้มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อของคนในท้องถิ่น เพื่อสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่แปลกใหม่ พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลของทุนชุมชนด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดการเรียนรู้ยอมรับและเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ แก้วกมล. (2562). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 75-91.

จิรายุฑ ประเสริฐศรี. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสำหรับเยาวชนจังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร, 12(1), 43-55.

ชวดี โกศล. (2561). การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 6(2), 64-73.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564). กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน (พ.ศ.2561-2565). แม่ฮ่องสอน: สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่วนพัฒนาส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2559). ทุนวัฒนธรรมไทยสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ. อุตสาหกรรมสาร, 58(6), 5-7. สืบค้นจาก https://ejournal.dip.go.th/dip/images/ejournal/fd2eaa1aedd740f4b4e32346220a000d.pdf

อารีวรรณ หัสดิน. (2563). การจัดการทางวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของการละเล่นพื้นบ้านไทยพวน กรณีศึกษาจังหวัดนครนายกและจังหวัดสระบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 331-344.

Pongkittiwiboon, S. (2015). Inheritance of Eng-Ko Folk media to enhance the identity of Thai-Chinese community in Chonburi Province. Warasarnsastr, 8(1), 147-164.