การปกครองแบบชีวญาณผ่านบัตรประจำตัวประชาชน (พ.ศ. 2554-2563)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบวิธีการที่รัฐใช้ในการควบคุมประชาชนโดยผ่านบัตรประจำตัวประชาชน (พ.ศ. 2554-2563) 2) ปรากฏการณ์ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการควบคุมประชาชน (พ.ศ. 2554-2563) และ 3) เครื่องมือที่รัฐไทยใช้ควบคุมประชาชนผ่านบัตรประจำตัวประชาชน (พ.ศ. 2554-2563) โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชาชนผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม คือ ประชาชน นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่ง ในส่วนของประชาชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 คน 2) ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 คน และ 3) ประชาชนโดยทั่วไป จำนวน 15 คน ซึ่งใน 2 กลุ่มแรก แบ่งออกเป็น 3 ระดับรายได้น้อย ปานกลาง และมาก ตามลำดับ กลุ่มละ 3 คน ในส่วนของนักวิชาการได้ทำการสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีความสนใจด้านการเมืองไทยจำนวน 5 ท่าน ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้ทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ ปลัดอำเภอ และนายอำเภอ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนโดยตรง
ผลการวิจัยพบว่า 1) รัฐไทยในช่วง พ.ศ. 2554-2563 ได้พัฒนากลไกการควบคุมประชาชนมากยิ่งขึ้น ผ่านบัตรประจำตัวประชาชน โดยพัฒนาให้บัตรประจำตัวประชาชนมีลักษณะการทำงานที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น และควบคุมประชาชนจากชุดข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมและเชื่อมโยงจากฐานข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน 2) การเลือกตั้ง การรัฐประหาร วิกฤตเศรษฐกิจ และโรคระบาด เป็นปรากฎการณ์สำคัญที่ทำให้รัฐปรับเปลี่ยนวิธีการควบคุมประชาชน 3) สิ่งที่ทำให้รัฐควบคุมประชาชนผ่านบัตรประจำตัวประชาชน คือนโยบายของรัฐที่ผูกโยงกับบัตรประจำตัวประชาชนเข้ากับการบริการภาครัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
คริส เบเคอร์, และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มติชน.
ทานาเบ ชิเกฮารุ. (2551). ชุมชนกับการปกครองชีวญาณ : กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีในภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
เบญจวรรณ อุปัชณาย์. (2561). แนวคิดเรื่องตัวตนที่รู้คิดและกระบวนการสร้างตัวตนของมิเชล ฟูโกต์. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/154546
ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2562). ศาลรัฐประหาร : ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร(พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2561). อัตลักษณ์เอกสาร วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2534). รายงานโครงการวิจัยเสริมหลักสูตร เรื่อง วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา (Genealogy). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2558). ฟูโกต์และอนุรักษ์นิยมใหม่. ใน อนุสรณ์ อุณโณ, จันทนี เจริญศรี, และ สลิสา ยุกตะนันท์ (บก.), อ่านวิพากษ์ มิเชลฟูโกต์ (น.27-74). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
ภาคภูมิ แสงกนกกุล. (2561). จาก “ยกเลิก 30 บาทรักษาทุกโรค” สู่ “ร่วมจ่าย”: ทำอย่างไรให้คนไม่ล้มละลายจากการป่วย และยังแฟร์ต่อทุกฝ่าย?. สืบค้นจาก https://themomentum.co/thai-universal-healthcare-from-non-pay-or-co-pay/
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) (สรอ.). (2564). การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX). สืบค้นจาก https://www.dga.or.th/our-services/digital-platform-services/dga-gdx/
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2552). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของอัตบุคคล ถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Foucault, M. (2000). Governmentality. In J. D. Faubion (Ed.), Power, pp. 201-222. New York, NY: The New Press.
Li, T. M. (2007). Governmentality. Anthropologica, 49(2), 275-294. Retrieved from https://www.jstor.org/stable/25605363
Rose, N., O’Malley, P., & Valverde, M. (2006). Governmentality. Annual Review of Law and Social Science, 2, 83-104. Retrieved from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1474131