การบริหารปกครองแบบร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐด้านการจัดการแก้ไขวิกฤตปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

Main Article Content

ณัฐพร อินทะกันฑ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษากระบวนการบริหารปกครองแบบร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐในการจัดการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ 2) ศึกษาความท้าทายและแนวทางการพัฒนาของการดำเนินงานแบบบริหารปกครองแบบร่วมมือกันในการจัดการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคเหนือ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสาร มาตรการแต่ละช่วงและหนังสือสั่งการทางราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง   การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่เป็นบุคคลเกี่ยวข้องต่อกิจกรรมหรือการดำเนินงานโดยตรง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดการบริหารปกครองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ของ Ansell & Gash (2007) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา


ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการบริหารปกครองแบบร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐที่เกิดขึ้นในเรือนจำ ประกอบด้วย 4 ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดวงจรกระบวนการบริหารปกครองแบบร่วมมือกัน ซึ่งมีตัวแปรหลัก ดังนี้ ตัวแปรที่ 1 ปัจจัยเริ่มต้นในการบริหารปกครองร่วมกัน โดยปัจจัยนี้เกิดจากสาเหตุหลายด้านที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม ประกอบด้วย 1.1 ปัจจัยสถานการณ์ที่รุนแรงเฉียบพลัน 1.2 ปัจจัยด้านนโยบายของหน่วยงานราชทัณฑ์ 1.3 ปัจจัยด้านศักยภาพและทรัพยากรของหน่วยงาน 1.4 ปัจจัยบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ1.5 ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานร่วมกันในอดีต ตัวแปรที่ 2 การออกแบบโครงสร้างสถาบัน ตัวแปรที่ 3 บทบาทผู้นำในการบริหารปกครองแบบร่วมมือกัน และตัวแปรที่ 4 กระบวนการบริหารปกครอง ซึ่งองค์ประกอบย่อยในตัวแปรนี้ประกอบด้วย 4.1 การเข้าร่วมการประชุมหรือการวางแผน 4.2 การสร้างความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกัน 4.3 การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน 4.4 การสร้างความเข้าใจ และ 4.5 การประเมินหรือการติดตามผลเพื่อการพัฒนา ทั้งนี้ ผลลัพธ์การดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายตามที่หน่วยงานราชทัณฑ์ส่วนกลางกำหนดไว้ ในเรื่องของการควบคุมการแพร่ระบาดโรคได้สำเร็จตามมาตรการควบคุมโรค คือ 1.ควบคุมการติดเชื้อในเรือนจำและป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อออกสู่สังคมภายนอก 2. การรักษาพยาบาลให้มีอัตราการเสียชีวิตน้อยที่สุด


2) ความท้าทายและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานในเรือนจำร่วมกัน ประกอบด้วยกฎระเบียบของหน่วยงานในเรื่องความปลอดภัย ลำดับต่อมา คือ ทัศนคติของสังคมภายนอกต่อศักยภาพขององค์กรในการจัดการโรคอุบัติใหม่ และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ องค์ความรู้ในการศึกษา พบว่า การบริหารการปกครองแบบร่วมมือกันที่เกิดขึ้นในเรือนจำ มีโครงสร้างการทำงานลักษณะพิเศษมาใช้ในระบบงานและตัวแสดงของผู้นำในการขับเคลื่อนภารกิจมีมากกว่าหนึ่งตัวแสดง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธเนศ เกษศิลป์, และ พระมหาบุญศรี ญาณุฑฺโฒ (วงค์แก้ว). (2560). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่โดยหลักบริหารเชิงพุทธศาสตร์. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2), 133-145.

บีบีซี นิวส์ไทย. (2564). โควิด-19: ราชทัณฑ์เผยพบผู้ป่วยใหม่อีก 842 ราย ด้าน สมยศ พฤกษาเกษมสุข เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาโควิดในเรือนจำ. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-57200261

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2557). การศึกษาและรวบรวมตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีรวิชญ์ สมพรนิมิตกุล, และ อรนันท์ กลันทปุระ. (2558). การนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการในกรมศุลกากร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(2), 156-164.

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2), 1-14.

ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา. (2563). สถิติสำคัญ เกี่ยวกับโรคโควิดในแต่ละประเทศทั่วโลก ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2563. สืบค้นจาก 36Thttps://covid19.nrct.go.th/สถิติสำคัญ-เกี่ยวกับโรค/36T

Ansell, C., & Gash, A. (2007). Collaborative Governance in Theory and Practice. Retrieved from https://academic.oup.com/jpart/articleabstract/18/4/543/1090370?redirectedFrom=fulltext

Purdy, J. M. (2012). A Framework for Assessing Power in Collaborative Governance Processes. Public Administration Review, 72(3), 409-407.