การวิเคราะห์และพัฒนาประสิทธิภาพระบบงานคลังและพัสดุ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Main Article Content

อุบล เจริญนวกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินงานและประสิทธิภาพระบบงานคลังและพัสดุ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของงานคลังและพัสดุ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพระบบงานคลังและพัสดุ เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ  (Mixed Methods) มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ใช้บริการงานคลังและพัสดุ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ระหว่างเดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2562 จำนวน 56 คน  เครื่องมือใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินงานและประสิทธิภาพระบบงานคลังและพัสดุ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ เมื่อพิจารณาโดยรวมอยู่ระดับมากทุกด้าน  2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคของงานคลังและพัสดุ (1) จุดแข็ง คือ มีระบบการเบิกจ่ายที่ดีสะดวกต่อผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด (2) จุดอ่อน คือ กฎ ระเบียบมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดความสับสนทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (3) โอกาส คือ การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยมีการปรับตัวขององค์กร และ (4) อุปสรรค คือ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานคลังและพัสดุมีการเปลี่ยนแปลงทำให้การบริหารงานไม่ต่อเนื่องจากการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีข้อบังคับเคร่งครัดและซับซ้อน  3) แนวทางการพัฒนาระบบงานคลังและพัสดุวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้แก่  (1) ด้านระบบงาน (1.1) ควรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการปฏิบัติงาน (1.2) ควรมีฐานข้อมูลด้านกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง (1.3) ควรมีคู่มือการปฏิบัติงานด้านงานคลังและพัสดุ (1.4) ควรวางแผนกลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยง 2) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (2.1) ควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่บุคลากรภายในองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจให้ทุกคนได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานคลังและพัสดุ (2.2) ควรให้บริการด้วยจิตบริการที่ดี เพื่อสร้างความพึงพอใจในการให้บริการสูงสุด (3) ด้านผู้รับบริการ ควรทำความเข้าใจในกฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานคลังและพัสดุ ซึ่งแนวทางที่กล่าวมานี้จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบงานคลังและพัสดุ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ วัชระรังสี. (2545). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ราชภัฏจันทรเกษม.

ชวนชื่น วุฒิสมบูรณ์. (2547). การสำรวจความเห็นของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานคลัง กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ฐิติรัตน์ จันทร์ดารา. (2560). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการงานพัสดุของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 23(2), 322-333.

ธงชัย สันติวงษ์, และ ชัยยศ สันติวงษ์. (2553). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

นพคุณ ประสพเกียรติกิจ. (2556). สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์. สืบค้นจาก http://popthaiin2025.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

นุชธาดา โศภรัชต์. (2546). ประสิทธิภาพในการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ภัคสุณีย์ ดวงงา, บงกชมาศ เอกเอี่ยม, และ กฤษดา ผาภูมิ. (2552). ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์. (2561). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2558-2560. เชียงใหม่: วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์. (2562). ระเบียบปฏิบัติงานกิจกรรมการดำเนินงาน วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สืบค้นจาก http://www.sas.mju.ac.th/

รพี แก้วเจริญ, และ ฑิตยา สุวรรณะชฎ. (2553). การแบ่งเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการในระดับนักบริหารอาวุโส. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สมคิด บางโม. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2559). ปัจจัยสมรรถนะที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 8(1), 9-20.

สุวิมล ติรกานนท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีย์ คงอำนาจ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ: กรณีศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. New York, NY: McGrew-Hill.

Simon, H. A. (1976). Administration Behavior: A study of decision-making processes in smith, administrative organization. New York, NY: The Free Press.