ผู้นำสตรีกับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชน ในตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาเรื่อง ผู้นำสตรีกับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนในตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของผู้นำสตรีด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชน 2) กลยุทธ เทคนิค เครื่องมือทางการบริหารจัดการที่ผู้นำสตรีนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชน 3) เงื่อนไขปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำสตรี และ 4) แนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชนของผู้นำสตรี
ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำสตรีมีอยู่ 6 ประเภท คือ ผู้นำสตรีท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำสตรีกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำสตรีภาคราชการ ผู้นำสตรีภาคเอกชน และผู้นำสตรีปราชญ์ชุมชน ซึ่งทำหน้าที่ 2 ลักษณะคือทำตามระเบียบกฎหมายและทำตามบทบาททางสังคม โดยนำกลยุทธ์ เทคนิค เครื่องมือทางการบริหารจัดการมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ กลยุทธ์ทางการสื่อสารเพื่อการรับรู้และเข้าใจ กลยุทธ์ผู้นำทำก่อน กลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ เทคนิคเครื่องมือการทำงานเป็นทีม กลยุทธ์สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การบริหารจัดการเชิงสถานการณ์สู่การเปลี่ยนแปลง และการบริหารจัดการความขัดแย้ง ทางด้านปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนของผู้นำสตรีให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ พฤติกรรมการแสดงออก ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การทำงานด้านการพัฒนา ความพร้อมของครอบครัว การได้โอกาสในการทำงาน และการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และข้อเสนอที่เป็นแนวทางในการบริหารจัดการการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสม คือ 1) รัฐบาลมีนโยบายยุทธศาสตร์การปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพบทบาทสตรี 2) ควรมีการสนับสนุนให้เกิดผู้นำสตรีให้มากขึ้น 3) ควรมีการสร้างสังคมการให้โอกาส 4) ควรมีการตั้งสภาสตรีชุมชน 5) ควรเพิ่มศักยภาพด้านเครือข่ายสตรีทุกระดับ 6) ควรสร้างผู้นำสตรีแห่งการเรียนรู้ 7) ควรสร้างกลไกกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน 8) ควรมีคณะกรรมการสมานฉันท์ชุมชน 9) ควรมีการจัดตั้งกองทุนกองบุญชุมชน 10) ควรสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
ธรรมพร ตันตรา. (2561). พฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ภทระ พรีเพรส.
ธรรมพร ตันตรา. (2565). การเสริมแรงผู้นำสตรีในการพัฒนาสังคมชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(3), 121-136.
ปริญญา ตันสกุล. (2543). ศาสตร์แห่งผู้นำ. กรุงเทพฯ: จูนพับลิซซิ่ง.
พยุง รสใจ. (2554). บทบาทผู้นำสตรีในทางการเมืองการปกครอง: กรณีศึกษา ตำบล หนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี.
พรเพชร วิชิตชลชัย. (2561). วรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
มนตรี กรรพุมมาลย์. (2532). การพัฒนาชุมชน แนวคิด และการปฏิบัติการ. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุ่งทิวา เขื่อนแก้ว. (2559). สตรีกับการบริหารจัดการด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษา: ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย แม่โจ้, เชียงใหม่.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
สนธยา พลศรี. (2545). หลักสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อินไซด์อาเซียน. (2561). บทบาทสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ac/download/article/article_20180517155757.pdf