การบริหารงานรูปแบบใหม่ของเทศบาลนครนครสวรรค์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3) เพื่อวิเคราะห์ แนวทางการพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมโดยการวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาใช้ในการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยภาพรวมอยู่ระดับน้อย (= 2.54, S.D.= 0.69) สภาพปัญหาการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ 1) รูปแบบการสื่อสารและช่องทางการสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 2) การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมหรือการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 3) การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมและการจัดทำแผนการดำเนินงาน 4.การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน 5.การกำกับติดตาม และการประเมินผลการบริหารงานรูปแบบใหม่ของเทศบาลนครนครสวรรค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) การแสดงความคิดเห็นและการติดตามรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาสภาพแวดล้อมขององค์การ ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลเป็นสำคัญ และการนำหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง การพัฒนา” เข้ามาดำเนินการติดตามประเมินผลการบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฐิติมา เย็นเยือก. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกลไกชุมชนในการจัดการปัญหาช้างป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
ณรงค์ พรมสืบ. (2562). การพัฒนานโยบายการบริหารจัดการอุทกภัยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
มลิวรรณ์ นามพันธ์. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารงานของเทศบาลในจังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
สถาบันพระปกเกล้า. (2566). รางวัลพระปกเกล้า KPI AWARDS 2564. สืบค้นจาก https://www.kpi.ac.th
สมภพ สุทัศน์วิริยะ. (2566). เอกสารประกอบการอบรม การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion). อุดรธานี: ศูนย์อนามัยที่ 8.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
สำนักงานทะเบียนราษฎร เทศบาลนครนครสวรรค์. (2564). จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์. สืบค้นจาก http://www.nsm.go.th/index.php
อุราพร เดชเกิด, อติพร เกิดเรือง, และ ประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล. (2563). แนวทางการบริหารจัดการของเทศบาลนครภูเก็ตตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 377-390.
อนุจิตร ชิณสาร. (2561). นวัตกรรมการบริหารการคลังท้องถิ่นเทศบาลเมืองสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 101-111.
Hood, C. C. (1976). The Limits of Administration. London: John Wiley.
Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nded.). New York: Harper and Row.