แนวทางและสภาพการจัดการที่ดินอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการที่ดินอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการที่ดินโดยชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและผสานกับเชิงปริมาณโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาคือ เก็บข้อมูลโดยการเก็บแบบสอบถามในระดับครัวเรือน การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย
จากการศึกษาพบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชนที่ส่งผลมากที่สุดอยู่ 2 ปัจจัย ดังนี้ คือ 1) การวางแผนการเงินในครัวเรือนกับสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชนโดยเฉพาะ 2) รูปแบบการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินกับสภาวะปัญหาการจัดการที่ดินของชุมชน ทำให้ไม่ทราบถึงถึงอนาคตของการใช้ที่ดินตนเอง ด้านตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมในการจัดการที่ดิน คือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และการประเมินผล โดยชาวบ้านมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางมีแนวโน้มไปทางน้อย แนวทางการพัฒนาการจัดการที่ดินโดยชุมชน ด้านกฎหมาย คือ คือควรมีการออกกฎหมายเฉพาะในการจัดการปัญหาที่ดินของชุมชนและควรมีการจัดการอบรมให้ความรู้กฎหมาย ด้านการมีส่วนร่วม มีวางแผนการยกระดับให้ชาวบ้านเป็นผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบกระบวนการติดตามผลเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าชาวบ้านจะได้รับประโยชน์จากกระบวนการมีส่วนร่วม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป. (2556). รายงาน: ภาพรวมปัญหาที่ดิน และแนวทางแก้ไข. สืบค้นจาก http://v-reform.org/v-report/ภาพรวมปัญหาที่ดิน-และแน/
ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, และ เจด็จ คชฤทธิ์. (2560). การจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน: กรณีศึกษา ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลย์อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 299-311.
เทียมทัน อุณหะสุวรรณ. (2538). การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกษตรกรได้รับกรรมสิทธิ์จากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พงษ์ทิพย์ สำราญจิต. (2548). ที่ดินทำกินและเสรีภาพ. กรุงเทพฯ: Back L cad Publishing.
ภักดี รัตนมุขย์. (2561). ตอบโจทย์ประเทศไทย?. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ภาคภูมิ พันธุ์รัตน์. (2564). แนวทางการจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการที่ดินร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์, อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์, อรพรรณ ณ บางช้าง, อาบ นคะจัด, ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม, วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์, และ สถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ. (2548). การศึกษาระบบการจัดการที่ดินในระดับท้องถิ่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันที่ดิน.
ศิริพร สัจจานันท์, อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ ณ บางช้าง, พิชญ์ จงวัฒนากุล, ณัฐวุฒิ พลศรี, และ มนตรี แดงศรี. (2559). โครงการศึกษาสภาพการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
เสน่ห์ จามริก, และ ยศ สันตสมบัติ. (2536). ป่าชุมชนในประเทศไทย แนวทางการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.