การจัดการทรัพยากรเกษตรบนที่ลาดเชิงเขาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการขยายผลสู่ชุมชน กรณีศูนย์เรียนรู้ฮอมบุญอโศก บ้านป่าไผ่ ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

Main Article Content

อำนวย คลี่ใบ
วัชรพงษ์ วัฒนกูล
มนัส สุวรรณ
ภัทรวุฒิ สมยานะ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานในการจัดการทรัพยากรเกษตรบนที่ลาดเชิงเขาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการขยายผลสู่ชุมชนที่ศูนย์เรียนรู้ฮอมบุญอโศก จังหวัดแพร่ ด้วยการ   ถอดบทเรียนโดยผู้วิจัย แบบสอบถามและบทสัมภาษณ์กับเกษตรกรที่ศูนย์เรียนรู้ฯ 17 คนและ   ผู้เข้ารับการอบรมที่ศูนย์เรียนรู้ฯ 226  คน


ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรรุ่นบุกเบิกพบปัญหาเกี่ยวกับการขาดความรู้ด้านการ  จัดการเกษตร การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้ดินเสื่อมโทรมและไม่มีความมั่นคงในอาชีพ เมื่อผู้นำชุมชนน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้แก่ 1) เปลี่ยนจากแสวงหาความร่ำรวยเป็นการใช้ชีวิตอย่างมีศีลธรรม 2) เปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการปลูกพืชผสมผสานที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อลดความเสี่ยง 3) เพิ่มความหลากหลายทางสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกพืชท้องถิ่น ไม้ยืนต้น พืชท้องถิ่นเพื่อความพอเพียงด้านแหล่งอาหาร 4) พัฒนาแหล่งน้ำซับในรูปสระพวงตามแนวที่ราบเชิงเขาและเชื่อมต่อเป็นระบบประปาภูเขาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านแหล่งน้ำ หลังจากดำเนินงานกว่า 20 ปี ศูนย์เรียนรู้ฯ มีกิจกรรมการเกษตรที่เหมาะสมและพอเพียง ผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติของผู้รับการอบรมด้วยวิธีแมคนีมาร์พบว่าผู้รับการอบรมได้ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในพื้นที่ของตนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในด้านการจัดการดิน น้ำ และป่าไม้ การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการทรัพยากรของศูนย์เรียนรู้ ฯ พบว่าเหมาะสมมากในด้านเศรษฐกิจ (4.44 ± 0.67) สังคม (4.92 ± 0.68) และสิ่งแวดล้อม (4.39 ± 0.71) แสดงให้เห็นว่าการจัดการทรัพยากรเกษตรบนที่ลาดเชิงเขาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถพลิกฟื้นพื้นที่ที่เสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์ได้อย่างพอเพียงเหมาะสมกับบุคคลและชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน. (2565). ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจาก https://www.moac.go.th/philosopher-philosopher-suffice

กิ่งแก้ว ทิศตึง. (2562). ชุมชนบ้านปงกับการจัดการความมั่นคงด้านอาหาร. วารสารสหวิทยาการ, 16(1), 62-89.

จตุรงค์ บุญรัตนสุนทร, และ มนัส โกมลฑา. (2552). วิเคราะห์นโยบายรัฐระดับต่าง ๆ รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. 2540 - 2549) เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จุฑาทิพ ทองสุก, และ พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ. (2566). รูปแบบการบริหารจัดการน้ำโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล โดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนบ้านหนองแต้ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1109-1125.

ชญานนท์ มิ่งสมร. (2566). การปฏิบัติตามรูปแบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกร ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล, และ สุชาดา บวรกิติวงศ์. (2562). รวมบทประยุกต์การใช้สถิติทดสอบ ไคสแควร์กับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(2), 1-16.

ชยุต อินทร์พรหม. (2561). เศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสน. วารสารพัฒนาสังคม, 20(2), 1-15.

ณัชชภัทร พาณิช, ทิพธิญา ภาวะพรหม, และ สวรส พืชหมอ. (2560). การพัฒนารูปแบบการทำเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้นน้ำโครงการสวมหมวกใส่รองเท้าให้ภูเขาหัวโล้น จังหวัดน่าน. น่าน: วิทยาลัยชุมชนน่าน.

นพดล หงส์สุวรรณ, รัตนา อินทาเกท, ไกรศรี ศรีทรัพย์ไทย, กนิษฐา ธรรม, สุทธิตรา พรรักษา, และ ภคมาศ ตั้งสุวรรณกุล. (2563). การสำรวจการใช้สมุนไพรในป่าครอบครัว: กรณีศึกษาป่าครอบครัวนายช่วงจันทร์ อุษาพรหม. วารสารแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(3), 9-14.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

ประเวศ วะสี. (2550). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: ศูนย์ หนึ่ง เก้า (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวนเงิน มีมา.

ประเสริฐศักดิ์ กุมภีพงษ์. (2564). ผลกระทบของการส่งเสริมการเกษตรที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวงที่มีต่อการตั้งถิ่นฐานและการใช้ที่ดิน: กรณีศึกษาสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปราโมช ศีตะโกเศศ, และ รัตนา โพธิสุวรรณ. (2556). พระราชปรัชญา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พงษ์พิชัย กลัดวัง, สุรินทร์ อันพรม, และวิพักตร์ จินตนา. (2561). ความหลากหลายของพืชในระบบวนเกษตรและความมั่นคงทางอาหารของชุมชนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวนศาสตร์, 38(1), 145-155.

เพชร ชัยศรี. (2556). ศึกษารูปแบบและกระบวนการลดภาวะความยากจนของผู้เข้าไม่ถึงโอกาสในสังคมชนบทภาคเหนือตอนบน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 121-141.

เยาวเรศ เชาวนพูนผล, และ ธเนศ ศรีวิชัยลําพันธ์. (2562). พลวัตการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนในจังหวัดน่าน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 7(1), 24-34.

ราเมศร์ พรหมชาติ. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านกองพระทราย ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(2), 35-54.

วีระ นิจไตรรัตน์. (2553). คู่มือการถอดองค์ความรู้ชุมชน. สืบค้นจาก https://roypalang.org/sites/default/files/attach-files/khuumuuekaarthdngkhkhwaamruuchumchn.pdf

สมนึก ปัญญาสิงห์, เศกสรรค์ ยงวณิชย์, และ พุทธรักษ์ ปราบนอก. (2557). ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(1), 11-22.

สามารถ ใจเตี้ย. (2562). การพัฒนาวัสดุปลูกพืชจากวัสดุเหลือใช้ในชุมชนที่เหมาะสมสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ [สำนักงาน กปร.]. (2562). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

อานนท์ ยอดญาติไทย, และ อาทิตยา สุตา. (2563). แก้วิกฤติภัยแล้งบนดอยสูง…ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน. สืบค้นจาก https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/66

Agroecology for Food Security and Nutrition Proceedings of the FAO International Symposium. 18-19 September 2014, Rome, Italy

Best, J, w., & Kahn, J, V. (1988). Research in Education (7th ed.) (pp.246-247). New Delhi: Prentice-Hall of India.

Boyabatli, O., Nasiry, J., & Zhou, Y. (2019). Crop Planning in Sustainable Agriculture: Dynamic Farmland Allocation in the Presence of Crop Rotation Benefits. Management Science, 65(5), 2060-2076.

Food and Agriculture Organization of the United Nations. (1996). Rome Declaration on World Food Security and World Food Summit Plan of Action Retrieved from https://www.fao.org/3/w3613e/w3613e00.htm

Da Silva, J, G. (2014). Agroecology for Food Security and Nutrition. In Proceedings of the FAO International Symposium (p. 11). Rome: FAO.

Maitra, S., Hossain, A., Brestic, M., Skalicky, M., Ondrisik, P., Gitari, H., … Jena, J. (2021). Intercropping - A Low Input Agricultural Strategy for Food and Environmental Security. Agronomy, 1(2), 343. https://doi.org/10.3390/agronomy11020343

Rajović, G., & Bulatović, J. (2016). Zoning as a Condition of Sustainable Agriculture Northeastern Montenegro: A Case Study. Rocznik Ochrona Środowiska, 18, 65-88.