บทบาทของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) : การสร้างพื้นที่สาธารณะทางการเมือง ในสังคมไทย ช่วง พ.ศ. 2552-2563

Main Article Content

พงษ์กฤษฏิ์ จิโน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สาธารณะ และผลกระทบของกฎหมายต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2552 –2563 2) ศึกษาโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ที่มีบทบาท ส่งเสริม รวบรวมข้อคิดเห็น หรือตรวจสอบกฎหมายในการเมืองไทย มีบทบาทในส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนการศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality research) ด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) การบัญญัติ การบังคับใช้ และการแก้ไขกฎหมาย รวมทั้งสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) 6 คน นักวิชาการ 4 คน และประชาชนทั่วไป 20 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน


ผลการศึกษาพบว่า 1) กฎหมายควบคุมพื้นที่สาธารณะทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2552 –2563 จำนวนมาก แบ่งได้ดังนี้ (1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมบนพื้นที่สาธารณะ (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์และภาพยนตร์  (3) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคมออนไลน์ (4) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง 2) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) มีบทบาทในการสนับสนุนต่อการเมืองภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่องในการสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายกับประชาชนและเป็นองค์กรที่รวบรวมความคิดเห็น รายชื่อ ประชาชนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อแสดงออกทางการเมือง ต่อรองกับรัฐ นอกจากนี้ยังมีบทบาทดังต่อไปนี้ 1) บทบาทในการสนับสนุนและแสดงออกทางการเมือง 2) สนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง 3) บทบาทในการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ รวบรวมข้อคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คริส เบเคอร์, และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2566). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: มติชน.

โครงการอินเทอร์กฎหมายเพื่อประชาชน(iLaw). (2558). กฎหมายที่ใช้ปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออก. สืบค้นจาก https://freedom.ilaw.or.th/freedom-of-expression-101/limit-expression

ญาเรศ อัครพัฒนานุกูล. (2564). การเมืองเรื่่องการปะทะกับความคิดทางการเมือง: การเปรียบเทียบแนวคิดเรื่่องการเมืองกับความเป็นการเมือง ในงานศึกษาของฮานนา อาเร็นดท์ กับซิดนีย์ แทวโรว์ และชาลล์ ทิลลี่. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 45-67.

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2554). การต่อสู้ทางการเมืองในกระบวนการนโยบายสื่อสาธารณะ.วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 28(1), 35-51.

พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558. (2558, 14 กรกฎาคม) .ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 123 ตอนที่ 63 ก, หน้า 21.

พิมลพรรณ ไชยนันท์, และ พิรงรอง รามสูต. (2557). สื่อใหม่กับการสื่อสารทางการเมืองของเยาวชนไทย. วารสารคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 31(2), 37-57.

มติชน. (2562). จอน อึ๊งภากรณ์ ยื่น 13,409 ปลดอาวุธ คสช. ทวงคืนสถานการณ์ปกติ. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_1552210

มงตรา พงษ์นิล. (2559). การเมืองภาคประชาชนในสังคมไทย ก่อนและหลังทศวรรษ 2540. ลีลาชายขอบ, 28(1), 155-185.

มานิตา หนููสวััสดิ์. (2564). การเมืองเรื่่องการต่อสู้ (Contentious politics): พัฒนาการแนวคิดและกรอบการวิเคราะห์ในการศึกษาการต่อสู้ทางการเมืองและขบวนการเคลื่่อนไหวทางสังคม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 1-44.

ม็อบดาต้าไทยแลนด์. (2563). การทำข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง. สืบค้นจาก https://www.mobdatathailand.org/

ม็อบดาต้าไทยแลนด์. (2564). In Number: ประมวลการชุมนุม ปี 2564. สืบค้นจาก https://www.mobdatathailand.org/

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดย ไอลอว์. (2562). รายชื่อผู้ถูกตั้งข้อหาจากทางการเมือง หลังการรัฐประหาร 2557. สืบค้นจาก https://www.ilaw.or.th/articles/9667

หอสมุดรัฐสภา. (2558). รวมประกาศ คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://library.parliament.go.th/th/rwmprakas-khasang-khnaraksakhwamsngbaehngchati

Amnesty. (ม.ป.ป.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. สืบค้นจาก https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/udhr

Habermas, J. (1989). The Structural Transformation of the Public Sphere: An Inquiry into a Category of Bourgeois Society. Cambridge, MA: The MIT Press.

iLaw. (2555). การประชุมเสวนาวิชาการ: การหายสาบสูญโดยไร้ร่องรอย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิในการรับรู้ความจริง เป็นสิทธิมนุษยชน. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/2915

iLaw. (2558ก). สรุปสถานการณ์ปี 2557 1/5 : การเรียกบุคคลไปรายงานตัว การจับกุมและการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก. สืบค้นจาก https://freedom.ilaw.or.th/node/233

iLaw. (2558ข). สำรวจความเห็นภาคประชาชนต่อ ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมฯ. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/3546

iLaw. (2560ก). เชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die). สืบค้นจาก https://freedom.ilaw.or.th/case/316#reference

iLaw. (2560ข, ตุลาคม 7). ระงับฉาย ดาวคะนอง หนังเกี่ยวเนื่องนองเลือด 6 ตุลาฯ. [Facebook status update]. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/ilawClub/photos/a.10150540436460551/10159488853240551/?type=3

iLaw. (2562). แก้รัฐธรรมนูญ: รัฐธรรมนูญไทย 20 ฉบับ แก้สำเร็จมาแล้ว 22 ครั้ง. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5424

iLaw. (2563ก). 50,000 ชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/50000Con%20

iLaw. (2563ข). เปิดข้อเสนอแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ไม่ให้ใช้ฟ้องปิดปาก. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5734

iLaw. (2563ค). เลือกตั้ง62: เปิดรายงาน คะแนนที่ถูกจัดการ ระหว่างการรายงานผล. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5504

iLaw. (2563ง). Pride Month: สำรวจ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต-กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5695

iLaw. (2563จ). Q&A ตอบทุกคำถาม อยากลงชื่อ แก้รัฐธรรมนูญ ต้องทำอย่างไรบ้าง. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5737

iLaw. (2564ฉ). เปิดตัว หนังสือ INTRODUCTION TO NO.112. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5949

iLaw. (2565). การชุมนุมปี 2563 พริบตาแห่งความเปลี่ยนแปลง: พลังก่อตัวจากไหน มีพัฒนาการอย่างไร เราเจออะไรมาบ้าง. สืบค้นจาก https://freedom.ilaw.or.th/node/1059

Laungaramsri, Pinkaew. (2022). Mass Surveillance and the Militarization of Cyberspace in Post-Coup Thailand. ASEAS-Austrian Journal of South-East Asian Studies, 9(2), 195-214. https://doi.org/10.14764/10.ASEAS-2016.2-2

The Matter. (2565). ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสิน คดีวิจารณ์ระบบ ศก.พอเพียง ให้มีความผิด ม.112 ระบุกฎหมายคุ้มครองถึงอดีตกษัตริย์. สืบค้นจาก https://thematter.co/brief/191244/191244