การตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกผู้นำท้องถิ่นในตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ยุทธนา บุญมาก
ธรรมพร ตันตรา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกผู้นำท้องถิ่นในตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ตามระเบียบกฎหมายและด้านที่ทางสังคมของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นและเพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่มย่อย และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือตัวแทนที่เป็นผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน รวมจำนวน 96 คน


ผลของการศึกษาพบว่า ประชาชนมีความรับรู้ต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ตามระเบียบกฎหมายของผู้นำท้องถิ่นค่อยข้างน้อย แต่รับรู้ถึงบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับสังคมค่อนข้างมาก และประชาชนมีความคาดหวังผู้นำท้องที่ ที่ประกอบด้วย การมีความคิด มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เป็นผู้นำท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการ และการพัฒนาชุมชน เป็นผู้นำท้องถิ่นที่มีความสามารถในการบริหารจัดการความขัดแย้งในชุมชนเป็นผู้นำท้องถิ่นที่สามารถนำหลักธรรมมาภิบาลมาประยุกต์ใช้กับตนเองและการทำงานเพื่อสังคมชุมชน

Article Details

How to Cite
บุญมาก ย., & ตันตรา ธ. (2025). การตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกผู้นำท้องถิ่นในตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 8(1), 21–36. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/268090
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). รายงานการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ เพื่อรับรางวัลพระปกเกล้าประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

เทศบาลตำบลสันมหาพน. (2566). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://www.sanmahapon.go.th/content/generalinfo

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2540). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทยในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2540). การเลือกตั้งกับการพัฒนาทางการเมือง. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาปัญหาการพัฒนาทางการเมืองไทย (น. 197-250). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

ภัทรวดี แก้วประดับ. (2546). การตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านค่าย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วันชาติ มีชัย. (2544). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และ ธนวรรณ ตั้งสินทรัพย์สิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สมคิด บางโม. (2544). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: บรรณากิจ.

สมนึก บางโม (2540) องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: บรรณากิจ.

สมัย จิตต์หมวด. (2547). พฤติกรรมผู้นํา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

França, R., & Raquel, M. G. (2023). On the Bias of the Unbiased Expectation Theory. Mathematics, 12(1), 105.

Philippe, A., & Guergana, G. (2014). Sing affect–expectations theory to explain the direction of the impacts of experiential emotions on satisfaction. Psychology and Marketing, 31(10), 900–913.