การดำรงอยู่ของแพทย์ประจำตำบลกับการบริหารจัดการด้านสาธารสุขเชิงรุก ในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของแพทย์ประจำตำบลกับการบริหารจัดการด้านสาธารสุขเชิงรุก ในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาสภาพการดำรงอยู่ การทำงาน การบริหารจัดการด้านสาธารณสุขชุมชนของแพทย์ประจำตำบล และเพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการทำงานการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขชุมชนของแพทย์ประจำตำบล
ผลการศึกษา พบว่า ด้านการดำรงอยู่ของแพทย์ประจำตำบลมีการดำรงอยู่ผ่านการรับรู้และความเข้าใจของผู้นำชุมชน หน่วยงาน องค์กรประชาชน และการแสดงออกเชิงพฤติกรรมที่มีต่อสังคมของแพทย์ประจำตำบล รวมถึงการทำงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล มีผลงานในเชิงประจักษ์ภายใต้การมีแรงจูงใจในการทำงาน เพราะมีความพอใจในงานและความเป็นแพทย์ประจำตำบลด้วยที่แพทย์ประจำตำบลมีการทุ่มเทแรงกายแรงใจแรงพลังความคิดทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการทำงาน การบริหารจัดการและการพัฒนา ประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านความมีอุดมการณ์ในการทำงานการมีอุดมการณ์ในการเป็นแพทย์ประจำตำบล และรักถิ่นฐานบ้านเกิด ปัจจัยทางด้านการมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ทางด้านวิชาการ การบริหารจัดการ การพัฒนา และการปฏิบัติงาน ปัจจัยทางด้านการได้รับโอกาสในการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ เพราะเป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล ร่วมกับการได้รับการยอมรับจากประชาชน การได้รับการยกย่องชมเชยจากคนในสังคม ซึ่งนำมาซึ่งการยอมรับนับถือในวงสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมแรงทางบวกให้กับแพทย์ประจำตำบลด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพราะแพทย์ประจำตำบลมีความพึงพอใจต่องานและความเป็นแพทย์ประจำตำบล ตลอดจนการมีปัจจัยทางด้านความมีฐานความมั่นคงของครอบครัวมาสนับสนุนจึงทำให้การทำงานของแพทย์ประจำตำบลมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง. (2555). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่องจำนวนราษฎรทั่ว ราชอาณาจักรแยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กันยา สุวรรณแสง. (2533). การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. (2551). ประกาศนายทะเบียนสมาคม ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งสมาคม [สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน อำเภอแม่แตง]. สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/116241
ธรรมพร ตันตรา. (2561). พฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์การสาธารณะ. เชียงใหม่: ภทระพรีเพรส.
นิภา นิธยายน. (2530). ทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิทยา บวรวัฒนา. (2550). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ ตระกูลสกฤษดิ์. (2545). จิตวิทยาการปรับตัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วาสนา สามเมือง. (2559). ผู้นำท้องที่กับการบริหารการเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และ ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์สิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Alan, A. A., & Kathy, L. G. (2021). Defining a leader: The leadership indentity development of Latino men. Journal of Leadership Education, 20(4), 1-18. https://doi.org/10.12806/V20/I4/R1
Muhammand, A. M., & Sammeen, A. (2019). Leader and leadership: Historical development of the terms and critical review of literature. Annals or the University of Craiova of Journalism, 5(1), 16-32. Retrieved from https://ideas.repec.org/a/edt/aucjcm/v5y2019i1p16-32.html
Zakeer, A. K., Allah, N., & Irfanullah, K. (2016). Theories and styles: A literature review. Journal of Resources Development and Management, 16, 1-7. Retrieved from https://core.ac.uk/download/pdf/234696192.pdf