การพัฒนาระบบบริหารเครือข่ายจัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยความร่วมมือของเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏและหน่วยงานภาคี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารเครือข่ายจัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยความร่วมมือของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง และหน่วยงานภาคี และสังเคราะห์องค์ความรู้ นวัตกรรม และการเรียนรู้จากการดำเนินงานเพื่อการต่อยอดและยกระดับเชิงนโยบายโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง โดยกระบวนการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม การสังเคราะห์ ถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงานเพื่อการต่อยอดและยกระดับเชิงนโยบาย
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบบริหารเครือข่าย ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ระบบการจัดการความรู้ นวัตกรรม องค์ความรู้ (2) ระบบเครือข่ายสร้างและใช้นวัตกรรม องค์ความรู้ร่วมกับภาคี (เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์) และ (3) ระบบฐานข้อมูล สารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ โดยภาพรวมแต่ละระบบย่อยจะมีกลไกการบริหารจัดการแบบ PDCA เป็นพลวัตควบวงจรอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับพื้นที่และภาคีที่เป็นระบบหนุนเสริมการทำงานของระบบหลักให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมีกลไกของพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงานที่บูรณาการกับงานปกติโดยมีหน่วยจัดการนวัตกรรมชุมชนของอปท.เป็นหลักเชื่อมกับทีมวิชาการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 2) ผลการเรียนรู้จากการดำเนินงานเพื่อการต่อยอดและยกระดับเชิงนโยบาย ได้ต้นแบบการขับเคลื่อนระบบบริหารเครือข่ายจัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับภาคี พร้อมคู่มือ เครื่องมือที่เป็นผลจากการถอดบทเรียนของมหาวิทยาลัยกับพื้นที่นำร่องในแต่ละภูมิภาคที่มีรูปธรรม เพื่อการต่อยอดและผลักดันสู่ระดับภูมิภาค และเกิดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเครือข่ายนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในพื้นที่กับระบบข้อมูลสารสนเทศของสถาบันวิชาการเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกันของภาคีที่เกี่ยวข้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์. (2559). โครงการสังเคราะห์ผลงานวิจัยและเสริมพลังเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์. (2562). นวัตกรรมการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏคู่ชุมชนท้องถิ่น. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2565). ระบบสารสนเทศการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นจาก http://info.uru.ac.th/lrdcenter/travel
วรวรรณ โชติสวัสดิ์. (2549). การจัดการความรู้ในองค์การ : กรณีศึกษาบริษัทเมดิทอป จำกัด (ภาคนิพนธ์โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปภัมภ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปภัมภ์..
แสงจันทร์ ศรีประเสริฐ. (2549). กลยุทธ์การนำการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาความได้เปรียบในการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ไทย : ศึกษาธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน). วารสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1, 22-23.