กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
องค์กรแห่งความสุข เป็นองค์กรที่ทุกคนปรารถนาเปรียบเสมือนครอบครัวและบ้านหลังที่สองที่จะต้องใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่การงาน โดยนำสิ่งตอบแทนจากองค์กรแห่งความสุขมาสนับสนุนครอบครัวและบ้านหลังที่หนึ่งในการดำเนินชีวิตตามสถานภาพครอบครัว องค์กรแห่งความสุขจึงเป็นเสาหลักสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความตระหนักควบคู่กับการพัฒนาประเทศเพื่อลดอัตราการลาออกกลางคัน การว่างงาน ฯ ตลอดจนปัญหาทางทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ บทความนี้ จึงได้ศึกษากระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข ประกอบด้วย การพัฒนาองค์กร, กระบวนการพัฒนาองค์กร, องค์กรแห่งความสุข, และการขับเคลื่อนองค์กรแห่งความสุข โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข และเสริมสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข เป็นการบูรณาร่วมกันระหว่างกระบวนการพัฒนาองค์กรในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์กรกับการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขเพื่อให้คนทำงานมีความสุข สถานที่ทำงานน่าอยู่ และสมานฉันท์ องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาบทความนี้ ทำให้ทราบว่าในกระบวนการพัฒนาองค์กร ควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขควบคู่กับการมุ่งเน้นบรรลุเป้าหมายในปัจจัยการผลิตหรือผลการปฏิบัติงาน และควรมีระบบกลไกการดำเนินงานที่ชัดเจนแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารและบุคลากรเพื่อให้เกิดสมดุลในการพัฒนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข: คนเบิกบาน งานสำเร็จ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 315-331.
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). หลักการจัดการ: องค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมต วรรณบวร. (2560). การสร้างองค์กรแห่งความสุขด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(1), 25-38.
พระธรรมปิฎก (ป. อ ปยุตฺโต. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอำคา วรปัญโญ, และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2563). การขับเคลื่อนองค์กรแห่งความสุขด้วยคุณธรรม. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(3), 269-285.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานประกันคุณภาพ. (2563). การพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD) ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพ: งานวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ :นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สันทยา ประภารัตน์, และสุธิญา จันทร์เจ้าฉาย. (2562). การพัฒนาองค์กรเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอริยทรัพย์ ๗ ประการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(1), 129-140.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ แผนงานองค์กรสุขภาวะภาคเอกชน. (2552). คู่มือ มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพ: แผนงานองค์กรสุขภาวะภาคเอกชน.
Peace please. (2566). สร้าง “องค์กรแห่งความสุข” ด้วยหลักการ Happy Workplace. สืบค้นจาก https://peacepleasestudio.com/blog/happy-workplace/