บทบาททางการเมืองของชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจทางการเมืองในทัศนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พรเทพ โฆษิตวรวุฒิ

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการแสดงบทบาททางการเมืองของชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาทัศนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีต่อการแสดงบทบาททางการเมืองของชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจทางการเมืองและ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงบทบาททางการเมืองของชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจทางการเมืองกับทัศนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรม และนำไปรวบรวมความเห็นของประชาชนที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์


ผลวิจัยพบว่า


1. การแสดงบทบาททางการเมืองของชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจทางการเมืองโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การสังเกตการณ์ทางการเมือง รองลงมา คือ การเข้าเป็นหุ้นส่วนทางการเมือง และน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง


2. ทัศนะของประชาชนต่อการแสดงบทบาททางการเมืองของชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจทางการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ควรทำงานการเมืองอย่างสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ รองลงมา คือ ควรมีจิตสำนึก มีคุณธรรมจริยธรรม และน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย


3. ความสัมพันธ์ระหว่างชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจทางการเมืองกับการแสดงบทบาททางการเมืองในทัศนะของประชาชน มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ในระดับสูงมากที่สุด r = 0.809 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ สว่างภณกาญจนา. (2565). การดำรงอยู่ของชนชั้นนำทางการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการทหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2562 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

จุมพล หนิมพานิช. (2548). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: หลักการแนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ณรุจน์ วศินปิยมงคล. (2558). บทปริทัศน์หนังสือชนชั้นกลางและการถดถอยของประชาธิปไตย. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 144-148

ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2558). แนวคิดวิเคราะห์โครงสร้างอำนาจท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 3(2), 1-28.

ไทยโพสต์. (2562). ประชาชนอยากเห็นนักการเมืองน้ำดี ไม่ขายเสียงทำเพื่อผลประโยชน์เงินทอง. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/de

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). บทบาทชนชั้นนำและการเมืองภาคประชาชน. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2011/08/36288

บีบีซี. (2562). เลือกตั้ง 2562: สหรัฐฯ-มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้อง กกต. โปร่งใส-เป็นธรรม. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/international-47707474

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 144-163.

พล เหลืองรังสี. (2562). คุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีที่เหมาะสมกับสังคมไทยตามทรรศนะของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น.1765-1773). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิชุดา สาธิตพร. (2556). เครือข่ายธุรกิจของนักการเมืองไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(2), 24-47.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2564). ระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

สยามรัฐออนไลน์. (2562). เลื่อนเลือกตั้ง ในมิติ ประชาชน. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/c/61385

สิทธิโชค ลางคุลานนท์. (2562). พัฒนาการและบทบาททางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุดาวรรณ ประชุมแดง, ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์, และ วินัย ผลเจริญ. (2563). การขัดกันของผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจการเมืองไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 102-117.

Dye, T. R., & Zeigler, L. H. (1972). The Irony of Democracy: an uncommon introduction to American politics (2nd ed.). Duxbury Press.

MGR Online. (2557). ผวจ.อุบลฯ สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินบุ่งสระพัง เตรียมเอาผิดนายทุน นักการเมืองบุกรุก. สืบค้นจาก MGR Online. https://mgronline.com/local/detail/9570000104299

Posttoday. (2558). จ่อร้องนายกฯถูกนายทุนออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ทำกิน. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politics/399077

Rocket Media Lab. (2566). เปิดข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 66 รายภาค-รายจังหวัด และจำนวน ส.ส. สืบค้นจาก https://rocketmedialab.co/election-66-3/

Tang, M. (2011). The Political Behavior of the Chinese Middle Class. Journal of Chinese Political Science, 16(4), 373-387.