แนวทางการจัดการร่วมของการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

โยธิน ทองเนื้อแข็ง
สมเกียรติ สายธนู

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และประเมินความเข้มแข็งในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน ในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 2) กำหนดแนวทางการจัดการร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักด้วยวิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 50 คน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน


ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและประเมินความเข้มแข็งในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน พบว่า อำเภอกระแสสินธุ์มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว มีทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน มีตำนานท้องถิ่นเชื่อมโยงคุณค่าทางด้านจิตใจ มีทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีเชื่อมโยงกับการประกอบอาชีพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สำหรับแนวทางการจัดการร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอกระแสสินธุ์ พบว่า ควรมีการจัดทำแผนแม่บทของการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวระดับอำเภอ โดยประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐจากหน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มอาชีพ มาร่วมจัดทำแผนงาน แผนโครงการ และแผนงบประมาณ โดยจัดทำแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งในรูปแบบกิจกรรม/โครงการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว การจัดทำปฏิทินกิจกรรมประจำปี การวางแผนงบประมาณผ่านหน่วยงานภาครัฐ และการประชาสัมพันธ์ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. สืบค้นจาก http://www.tatcontactcenter.com

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20170320150102.pdf

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.). (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา (พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.songkhla.go.th

จารุวรรณ ธนะกิจ, และ ปานแพร เชาวน์ประยูร อุดมรักษาทรัพย์. (2563). การจัดการร่วม: การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสำหรับการจัดการท่องเที่ยวในอุทยานธรณีโลกสตูล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ทิพวรรณ พุ่มมณี. (2546). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). การท่องเที่ยวไทยนานาชาติปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา การท่องเที่ยวไทย.

บุญตา สืบประดิษฐ์. (2556). การจัดการร่วมในฐานะพื้นที่ต่อรองเพื่อสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นของเครือข่ายการจัดการทรัพยากรในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ราณี อิสิชัยกุล. (2552). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย หน่วยที่ 1 – 8 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา นวปราโมทย์. (2556). การจัดการร่วมในการกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินเพื่อลดปัญหาข้อชัดแย้งในการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้: กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำแม่เตี๊ยะ-แม่แตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สมศักดิ์ ตันติเศรณี. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

สุมาลี สันติพลวุฒิ, โสมสกาว เพชรานนท์, และ สมหมาย อุดมวิทิต. (2550). ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Borrini-Feyerabend, G. (2000). Co-management of Natural Resources: Organizing, Negotiating and Learning-Doing. New York, NY; World Conservation Union.

Cowling, V. (2548). คู่มือการจัดการร่วม. โครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (CHARM). Wondolleck, Julia M, and Yaffee, Steven, L. Making Collaboration Work. Island Press, Washington D.C. World Commission on Environment and Development (WCED). 1987. Our Common Future. Oxford and New York: Oxford University Press. สืบค้นจาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Phakphum.Phan.pdf

Nemes, G. (2005). Integrated Rural Development the Concept and Its Operation. Budapest: Institute of Economics Hungarian Academy of Science.

World Tourism Organization. (2023). Tourism Industry. Retrieved Form https://www.unwto.org/