กลยุทธ์การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวในอุทยานธรณีโลกสตูล

Main Article Content

ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง
ดนุวัศ สุวรรณวงศ์
อรอนงค์ เฉียบแหลม

บทคัดย่อ

กลยุทธ์การพัฒนาตลาดท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล อยู่ภายใต้โครงการชุดวิจัยการพัฒนาและบริหารจัดการการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 85 คน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน


ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูลควรมีเป้าหมายการดำเนินงาน 3 ข้อ ได้แก่ 1) การปรับปรุง/พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่อุทยาน ธรณีโลกสตูลให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย 2) การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ Business to Business และ Business to Customer 3) การสร้างภาพลักษณ์ (Brand Image) และสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) ในเขตอุทยานธรณีโลกสตูล ซึ่งประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว (2) การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และ (3) การสร้างภาพลักษณ์ Brand Image และสร้างการรับรู้ Brand Awareness

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2558). แผนแม่บทการบริหารจัดการอุทยานธรณีสตูล รายงานฉบับสมบูรณ์ ภายใต้โครงการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการธรณีวิทยา/แหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาหรืออุทยานธรณีภาคใต้ (จังหวัดสตูล). กรุงเทพฯ: ค็อกคิวเมนท์ พลัส.

ขนิษฐา ปาลโมกข์. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

บุญตา วัฒนาวานิชย์กุล. (2557). การพัฒนายุทธศาสตร์การสื่อสารตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางสายไหม กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

พิทักษ์ ศิริวงค์. (2559). การพัฒนาแนวทางบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านไทยมุสลิม (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

มนตรี ชูวงษ์. (2558). สำรวจและจัดทำแผนบริหารจัดการระดับชุมชนอย่างยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีที่ยังไม่เป็นที่รู้จักตามแนวชายฝั่งทะเลไทยสำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับสากล (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 - 2570. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13

Bangkok Post. (2018). Unesco designates Satun Thailand’s first Geopart. Retrieved from https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1447966/unesco-designates-satun-thailands-first-geopark