ศักยภาพและแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ และ 2) กำหนดแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสงวนแห่งชาติภูสิงห์ และอุทยานแห่งชาติภูลังกา เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัยคือสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมกลุ่มย่อย โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตัวแทนจากภาครัฐ ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดบึงกาฬจำนวน 400 คน ผู้วิจัยได้เลือกใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดบึงกาฬ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬโดยรวมของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่ได้รับการประเมินศักยภาพ มากที่สุด คือ ด้านความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมในอุทยาน/เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า ด้านการเข้าถึง แหล่งท่องเที่ยวได้หลายเส้นทาง ด้านลักษณะของแหล่งท่องเที่ยว ด้านข้อจำกัดในการรับรองนักท่องเที่ยว และน้อยที่สุดคือด้านแหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวกปลอดภัย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34, 4.12, 4.09, 4.05, 4.01 และ 3.84 ตามลำดับ 2) สำหรับแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู จังหวัดบึงกาฬ สามารถกำหนดได้ดังนี้ คือ การจัดแพคเกจส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงหยุดยาวในสื่อดิจิตอล และผลักดันแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 3 ภู เป็นปฏิทินท่องเที่ยวหลักของจังหวัดบึงกาฬ ใช้สื่อดิจิตอลและนำนวัตกรรมมาใช้ในงานบริการ ใช้คนที่มีชื่อเสียงมาเป็นแบรนด์ท่องเที่ยว ส่งเสริมรวมกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวครบวงจร หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก ชูนโยบายท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถท่องเที่ยวแบบเสมือนจริงด้วยตัวเองเพื่อจูงใจ พัฒนา OTOP ของฝากให้ครบทั้งของกินและของใช้เมื่อเที่ยวช่วงวันหยุดยาว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
จริยา นันทิยาภูษิต, และ ภมร ขันธหัตถ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดจันทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(4), 379-395.
เจตนา อินยะรัตน์, และ สุญาพร ส้อตระกูล. (2560). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชนของเกาะสุกร จังหวัดตรัง (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ทัชชญา ทรงอิทธิสุข. (2563). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศจากมุมมองของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
นุชประวี ลิขิตศรัณ์. (2562). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 14(1), 28-41.
สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ. (2557). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2557 – 2560). สืบค้นจากhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER016/GENERAL/DATA0000/00000026.PDF
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2562 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Pelasol, M. R. J., Tayoba, M. A. T., Mondero, E., Jugado, K., & Lahaylahay, C. (2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo, Philippines. JPAIR Multidisciplinary Research, 8(1), 90-97. https://doi.org/10.7719/jpair
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York, NY: Harper & Row.