การนำแนวทางการปฏิรูประบบภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติ กับความเป็นธรรมในทัศนะของผู้ครอบครองทรัพย์สิน กรณีศึกษาพื้นที่เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการนำแนวทางการปฏิรูประบบภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาความเป็นธรรมในทัศนะของผู้ครอบครองทรัพย์สิน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนำแนวทางการปฏิรูประบบภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติ กับความเป็นธรรมในทัศนะของผู้ครอบครองทรัพย์สินโดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรม และนำไปรวบรวมความเห็นของผู้บริหารท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นข้าราชการเจ้าพนักงานของรัฐผู้ดำเนินการจัดเก็บภาษี และประชาชนผู้เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างผู้เสียภาษีให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 400 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นข้าราชการเจ้าพนักงานของรัฐผู้ดำเนินการจัดเก็บภาษี จำนวน 100 คน และประชาชนผู้เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 300 คน แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ , S.D. และ Pearson Correlation
ผลวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจในการนำแนวทางการปฏิรูประบบภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติ ของการดำเนินการโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านงบประมาณ รองลงมา คือ ด้านผู้บริหาร และน้อยที่สุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์
2. ความเป็นธรรมในทัศนะของผู้ครอบครองทรัพย์สิน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การใช้อัตราภาษีก้าวหน้า รองลงมา คือ การเพิ่มอัตราภาษีสำหรับที่ดินรกร้างว่างเปล่า และน้อยที่สุด คือ การกำหนดอัตราภาษีตามการใช้ประโยชน์ของที่ดิน
3. การนำแนวทางการปฏิรูประบบภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติ มีความสัมพันธ์กับความเป็นธรรมในทัศนะของผู้ครอบครองทรัพย์สิน ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). สรุปคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติภาษีที่ ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.dla.go.th/work/tax9/23.pdf
กิตติศักดิ์ แพรวพรายรัตน์. (2563). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
ฐิติกานต์ ศรีโพธิ์. (2563). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
ปาริฉัตร ภูต้องลม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, กาฬสินธุ์.
ลันตา อุตมะโภคิน. (2563). ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก้าวต่อไปของการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน. จุลนิติ, 7(5), 64-67.
อำนวย สังข์ช่วย. (2564). ปัญหาอุปสรรค และผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี ตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 287-300.