การพัฒนาธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืน ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ
วราภรณ์ ทนงศักดิ์
สุภฎา คีรีรัฐนิคม
ทวีเดช ไชยนาพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม พื้นที่วิจัยคือ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พึ่งพาทะเลสาบสงขลาในการดำรงชีพ แต่ทะเลสาบสงขลาในปัจจุบันเกิดความเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องใช้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามใช้วิธีจัดเวทีชุมชนและการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน (เมษายน – พฤศจิกายน 2566)


ผลการวิจัยพบว่า เจตนารมณ์สำคัญในการจัดทำธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืนของตำบลนาปะขอ คือ เพื่อสร้างจิตสำนึกและเป็นข้อตกลงร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของทรัพยากรสัตว์น้ำและชายฝั่ง โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลา สาระสำคัญของธรรมนูญชุมชนมี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา 2) ด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน 3) ด้านการจัดการมลพิษ และภัยคุกคามจากมนุษย์ 4) ด้านการเสริมพลังอาสาสมัคร การจัดตั้งกลุ่มและสร้างเครือข่าย 5) ด้านการเสริมพลังสิทธิชุมชนเพื่อการสืบสาน รักษา ต่อยอด อาชีพ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนประมง และ 6) ด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งตำบลนาปะขอใช้คณะกรรมการประจำตำบล เป็นกลไกในการขับเคลื่อน ทำให้ธรรมนูญชุมชนประมงยั่งยืนสามารถเป็นเครื่องมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทะเลสาบสงขลาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. (2566). กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ “ฤดูน้ำแดง 2566” ให้อำนาจคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปรับพื้นที่ - เครื่องมือได้ตามความเหมาะสม คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ เริ่ม 16 พ.ค. 65 นี้. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/dof/news_local/1210/179679

คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2566). ทะเลสาบสงขลา (2564). สืบค้นจาก https://km.dmcr.go.th/c_218/d_19707

ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช, และ เพ็ญพร ตั้งปฏิการ. (2563). ธรรมนูญชุมชน: เครื่องมือของการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences, 20(1), 128-140.

พรไพลิน จุลพันธ์. (2566, 21 มีนาคม). "พิพัฒน์" ดันพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ดึงงบฯ 5.4 พันล้าน ลง 142 อปท. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1058796

ยศวดี จิ๋วนุช, และ กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2564). ความเป็นปึกแผ่นทางสังคมกับธรรมนูญชุมชน: การศึกษาเปรียบเทียบหมู่บ้านต้นแบบกับหมู่บ้านข้างเคียงในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิคสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 414-421.

วารินทร ธนาสมหวัง, และ อรัญญา อัศวอารีย์. (2555). สภาวะการทำการประมงและผลการจับสัตว์น้ำในปี 2554 และ 2555 หลังการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/doffile/fkey/ref2832

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง วิกฤตทะเลสาบสงขลาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป). ระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา. สืบค้นจาก https://chm-thai.onep.go.th/?page_id=2613

สำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน. (2559). ชุดความรู้การจัดทำธรรมนูญตำบลสู่การจัดการตนเอง. สืบค้นจาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2019/05/book-KNOW-180859.pdf

สุปราณี ธรรมพิทักษ์. (2561). มุมมองเชิงทฤษฎีของการนำนโยบายไปปฏิบัติ. รมยสาร, 16(2), 501-517.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้นจาก https://napakho.go.th/datacenter/doc_download/a_211122_133104.pdf

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. New York: Cornell University Press.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1990). The action research planner. Geelong: Deakin University Press.