ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว บุคลากรจากองค์กรของรัฐ และภาคเอกชน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling Random) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร จำนวน 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้วิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 50-60 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา และมีอาชีพเกษตรกร ผลการศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร เมื่อพิจารณาองค์ประกอบหลักทั้ง 3 ด้านของการประเมินแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งด้านศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ด้านศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว และศักยภาพในการบริหารจัดการ สามารถสรุปได้ว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนครได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 74.5 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาตรฐาน ดีมาก ตามการกำหนดระดับมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ทราบถึงศักยภาพของของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมหรือสิ่งดึงดูดใจทางวัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร และสามารถจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการพัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์.
ผู้จัดการออนไลน์. (2566, 9 พฤษภาคม). ททท. รณรงค์การท่องเที่ยวภายใต้โครงการ Amazingเมืองรอง เที่ยวเมืองรอง ต้องลอง ต้องรัก. ผู้จัดการ. สืบค้นจาก https://mgronline.com/entertainment/detail/9660000042917
วิจิตรา บุญแล, เสรี วงษ์มณฑา, ชวลีย์ ณ ถลาง, และ กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2564). การศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของจังหวัดจันทบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 46- 55.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ในช่วงที่เหลือของปี 2566 ต่างชาติเที่ยวไทยเร่งตัว คาดทั้งปีมีจำนวน 28.5 ล้านคน...แต่ธุรกิจยังมีโจทย์ท้าทายโดยเฉพาะประเด็นต้นทุนแรงงานที่ต้อง ติดตาม (กระแสทัศน์ ฉบับที่ 3416). สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Th-Tourist-Arrivals-CIS3416-Web-B-31-05-2023.aspx
ศิริชัย พงษ์วิชัย. 2558. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
สมศักดิ์ ตันติเศรณี, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, ประมาณ เทพสงเคราะห์, และ แสนศักดิ์ ศิริพานิช. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสงขลา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 9(2), 361-400.
สำนักงานจังหวัดสกลนคร. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดสกลคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้นจาก https://web.sakonnakhon.go.th/article/376
สำนักบริหารการทะเบียน. (2563). สถิติทางการทะเบียน. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php
สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์, และ เทียนวัน แนบตู้. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา : บ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 16(1), 51-66.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัยวรรณ ภู่เทศ. (2562). แนวทางการยกระดับการพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 96-104.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. New York, NY: Cornell University.
Krejcie R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activi-ties. Educational and Psychological Mea- surement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308