ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการวิจัยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed- method research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 382 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key Informants) จำนวน 12 คน และจัดทำสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมขององค์การภาครัฐ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมขององค์การภาคเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) 2) แนวทางการพัฒนาความสำเร็จด้านการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ (1) ด้านการบริหารองค์การ องค์การควรเพิ่มด้านการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการจัดการองค์การ (2) องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ มีแนวปฏิบัติการดำเนินการในโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ดี และมีการประเมินผลและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ควรเพิ่มด้านการรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ขององค์การ จะทำให้การพัฒนาต่อในการนำความรู้ต่างๆ ขององค์การมาสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์การอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
นันท์ธนัชชา พ่วงพันสี. (2557). ประสิทธิผลการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือจังหวัดปทุมธานี (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
พรทิพย์ บัวหลวง. (2560). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานเทศบาลตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
มุทุดา แก่นสุวรรณ. (2561). แนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังแห่งชาติฉบับที่12.pdf
สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นจาก http://rangjorrakea.go.th/viewpage.php?page_id=2
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). Behavioral Competency Dictionary (พจนานุกรม พฤติกรรมความสามารถ). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.