แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เสรี บุญรัตน์
อรอนงค์ อำภา
วสันต์ กาญจนมุกดา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 32 คน คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์แก่นสาระ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง/เชิงลึกตามแบบตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้ง 6 ด้าน
          ผลการวิจัย พบว่า การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.41 2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในระดับดีเยี่ยม มีคะแนนที่ 3.75 3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน อยู่ในระดับดีเยี่ยม มีคะแนนที่ 3.67 4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน อยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.03 5) ด้านคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.46 6) ด้านการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการด้านการเข้าถึงตลาด และทำงานร่วมกับผู้ประกอบการนำเที่ยวภายนอก อยู่ในระดับดี มีคะแนนที่ 2.59 โดยภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 70.71 ซึ่งอยู่ในระดับดี
          ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนควรมีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว การบริหารจัดการเงินและบัญชี การรวบรวมข้อมูลด้านมรดกทางวัฒนธรรม การรวบรวมข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกับวิถีชุมชนและจัดทำข้อตกลงกันระหว่างผู้ประกอบการนำเที่ยวในการกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวสู่การขอรับรองเกณฑ์มาตรการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Article Details

How to Cite
บุญรัตน์ เ., อำภา อ., & กาญจนมุกดา ว. (2024). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 7(4), 166–182. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270108
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาบริการท่องเที่ยวกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). พัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2566 – 2570. สงขลา: คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสงขลา.

โชติมา ดีพลพันธ์, และ แสงแข บุญศิริ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นัยเนตร ขาวงาม. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

พรศิลป์ บัวงาม, และ อุทุมพร ศรีโยม. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 230-241.

Gayathri, P., Erathna, B., Ganeshan, K., Silva, S.D. & Silva, H. D. (2024). Community-Based Tourism (CBT) in Changing Economy in the Case of Sri Lanka. In C. Tanrisever, H. Pamukçu, & A. Sharma (Eds), Building the Future of Tourism (pp. 49-60). United Kingdom: Emerald. https://doi.org/10.1108/978-1-83753-244-52024100

Kim, K. (2019). The Concepts and Practices of Social Tourism in South Korea. Advances in Hospitality and Leisure, 15, 173-182. https://doi.org/10.1108/S1745-354220190000015011

Yeap, P. F. & Liow, M. L. S. (2023). Tourist walkability and sustainable community-based tourism: conceptual framework and strategic model. International Journal of Tourism Cities, 10(1), 78-104. https://doi.org/10.1108/IJTC-05-2022-0117