กว่าจะได้มาซึ่งบัตรชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย: ประสบการณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาประสบการณ์การได้รับบัตรชนกลุ่มน้อยชาวไทใหญ่ในบ้านห้วยโข่งแข่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นประชากรไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในหย่อมบ้านห้วยโป่งแข่และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามแนวคิดระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของประชากรไทใหญ่ในหย่อมบ้านห้วยโป่งแข่มีความเกี่ยวข้องกับสร้างสานสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ระหว่างผู้ใหญ่บ้านและประชากรไทใหญ่ผ่านประสบการณ์การต่อรองและยุทธวิธีของประชากรไทใหญ่ที่ต้องประสบพบเจอต่างกันตามบริบทสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมการปกครอง สำนักบริหารการทะเบียน. (2544). คู่มือการกำหนดสถานะของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.
กรมการจัดหางาน. (2564). สถิติจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือน พฤษภาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/b4d395ff0f55dac76797e41520e0d1b5.pdf
กรมการจัดหางาน สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว คณะทำงานจัดการความรู้ (KM Team) . (2558). องค์ความรู้ เรื่อง การพิจารณาอนุญาตทำงานคนบนพื้นที่สูง. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/suratthani_th/a172fa9024220534a656e0bb70fde6aa.pdf
กรมศิลปากร คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ชนินทร สวณภักดี. (2547). ชาวเขากับสัญชาติไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 23(2), 32-45.
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2559). หลังข้ามเส้นพรมแดนสถานะกฎหมายของคนย้ายถิ่น (กรณี ชนกลุ่มน้อย). วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 9(2), 170-205.
ปลินดา ระมิงค์วงศ์. (2558). ชีวิตที่อยู่ตรงกลาง: ตำแหน่งพิเศษของชาวไทใหญ่ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(4), 1-6.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2561). อัตลักษณ์เอกสาร วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่นิวส์. (2563). อ.เวียงแหง แจงแก๊งบัตรต่างด้าว ไม่มีเจ้าหน้าที่พัวพัน ขบวนการสวมบัตรหัวศูนย์. สืบค้นจาก https://www.chiangmainews.co.th/news/1464502/
เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2560). รัฐฉาน (เมืองไต): พลวัตชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และสังคมการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
Grossman, W. M. (2005). Identifying Risks: National Identity Cards. Script-ed, 2, 5-19.