รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการศึกษา คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกินข้าวเซาเฮือน ซะซอมโฮมสเตย์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลจากตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกินข้าวเซาเฮือนซะซอมโฮมสเตย์ จำนวน 80 ราย โดยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกินข้าวเซาเฮือนซะซอมโฮมสเตย์ ตัวแทนองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว จำนวน 20 ราย โดยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี ด้านนวัตกรรมโฮมสเตย์ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 3.82) ด้านเกณฑ์ตัวชี้วัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (
= 3.84) บริบทของชุมชนมีความโดดเด่นทางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน 2) การวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชน พบว่า จุดแข็ง คือ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถจัดกิจกรรมรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างหลากหลาย จุดอ่อน คือทักษะด้านภาษาของคนในชุมชน และขาดการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลและพัฒนาการตลาดออนไลน์ โอกาส คือ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และอุปสรรค คือ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ดังนั้นในการพัฒนาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนนั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือของชุมชนในการปฏิบัติตามนโยบาย ร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กนกรัตน์ ดวงพิกุล, และ จารุนันท์ เมธะพันธุ์. (2561). โฮมสเตย์กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดน่าน. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 217-234.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กุลวดี ละม้ายจีน, เนียนนิภา สำเนียงเสนาะ, และ ภูวดล งามมาก. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองชุมชนซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 76-86.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นจาก https://anyflip.com/zzfck/rptc
ชูศักดิ์ อินทมนต์, และ ศรัณยา เลิศพุทธลักษณ์. (2562). รูปแบบการจัดการธุรกิจนวัตกรรมโฮมสเตย์ในชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยว. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(6), 85-103.
ธง คำเกิด, อุทุมพร เรืองฤทธิ์, เพียงฤทัย เสงี่ยมศิลป์, จิตราภรณ์ เถรวัตร, และ ชิดชนก มากจันทร์. (2563). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานรากวิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี (รายงานวิจัย). สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี.
สริตา ศรีสุวรรณ, และ บงกช เดชมิตร. (2562). แนวทางการจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ให้คงเสน่ห์ และแตกต่างอย่างมีอัตลักษณ์เพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 1-13.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บริษัทบุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการศึกษาชุมชนเพื่อสืบค้นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (รายงานวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.