รูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นีนาถ ศังขะศิลปิน
ยุทธการ ไวยอาภา
กวินรัตน์ อัฐวงศ์ชยากร
กีรติ ตระการศิริวานิช

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยการออกแบบบริการที่มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอําเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ สมาชิกชมรมการท่องเที่ยวอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้ด้วยการสอบถาม สัมภาษณ์ พูดคุยและสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ระหว่างผู้วิจัย นักวิชาการและชุมชน และประชุมเชิงปฏิบัติการ (focus group) หลังจากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้มาสร้างรูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการออกแบบบริการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
          ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าประกอบไปด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านส่งเสริมการตลาด 3) ด้านบุคคล 4) ด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ และ 5) ด้านสิ่งมีตัวตนที่มองเห็นได้

Article Details

How to Cite
ศังขะศิลปิน น., ไวยอาภา ย., อัฐวงศ์ชยากร ก., & ตระการศิริวานิช ก. (2024). รูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 7(4), 200–217. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/270888
บท
บทความวิจัย

References

จะเด็ด ศิริงาม. (2545). แนวทางการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวในเขตอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภาวนา โกมลนาค. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนโป่งกวาว ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น

ยุทธการ ไวยอาภา. (2553). การพัฒนาการบริหารธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านสบวิน ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

สยาม อรุณศรีมรกต, และ ยงยุทธ วัชรดุลย์. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1-7.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สํานักงานจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวนรอบปี พ.ศ. 2563 ฉบับปรับปรุง สิงหาคม 2562. สืบค้นจาก https://www.chiangmai.go.th/managing/public/D2/2D14Jan2020084026.pdf

สุภางค์ จันทวานิช. (2540). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

The British Design Council. (2015). Design methods for developing services. Retrieved from https://www.designcouncil.org.uk/fileadmin/uploads/dc/Documents/DesignCouncil_Design%2520methods%2520for%2520developing%2520services.pdf

Thompson, A. A., Strickland, A. J., & Gamble, J. E. (2007). Crafting and Executing Strategy-Concepts and Cases (15th ed.). New York, NY: McGraw-Hill Irwin.