ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรังภายใต้โลกยุคบานี่

Main Article Content

วิสุทธิณี ธานีรัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรังภายใต้โลกยุคบานี่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรัง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรัง จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานประจำ จำนวน 122 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( equation=4.23, S.D.= 0.426) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด  ( equation=4.25, S.D.=0.502) รองลงมา คือ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านปริมาณงาน และด้านเวลา ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่าพนักงานที่มีอายุ และสถานภาพสมรสต่างกัน มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่มีเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ธานีรัตน์ ว. (2024). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดตรังภายใต้โลกยุคบานี่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 7(4), 113–131. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/271353
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง สำนักบริหารการทะเบียน (2566). จำนวนประชากรแยกตามเพศและอายุปี 2566. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/StatMIS/#/ReportStat/3

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). มาตรฐานการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร. สืบค้นจาก https://www.industry.go.th/th/km/6550

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 13-24.

ศุภกร กรบุญตรีทศ. (2566). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2566-2568: อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/processed-seafood/io/processed-seafood-2023-2025

บัณฑิต เลี่ยมสวรรค์. (2564). กลยุทธ์การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(2), 21-32.

พัชรนันท์ ขำมะโน, และ วิชากร เฮงษฎีกุล. (2564). ปัจจัยจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท รอแยลแคนอินดัสทรีส์ จำกัด และ บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชัย). วารสาร Lawarath Social E-Journal, 3(2), 117-130.

ภาวนา กิตติวิมลชัย, และ กนกอร สมปราชญ์. (2562). วัฒนธรรมคุณภาพสถาบันการศึกษา: ในเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เมรี่ ทองสาดี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ซีพี ออลล์ (มหาชน) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ศรีลัดดา เทพารักษ์. (2562). วัฒนธรรมองค์กรเน้นคุณภาพที่ส่งผลต่อการวางระบบและกลไกด้านคุณภาพทางการผลิต และการยอมรับที่จะปฏิบัติงานให้เกิดคุณภาพ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราดิบ ในเขตจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

สุดารัตน์ สะโดอยู่, และ แสงจิตต์ ไต่แสง. (2565). ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เอลเลค แอนด์ เอลเทค (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), 1-10.

สุพัฒน์ ปิ่นหอม, มณฑิรา ลีลาประชากุล, นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วิวัฒน์ วรวงษ์, นันทพงศ์ หมิแหละหมัน, และ เฉลิมชาติ เมฆแดง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานวิศวกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 520-533.

หัฏฐกรณ์ แก่นท้าว. (2564). การบริหารเวลา : บริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12(1), 15-24.

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์. (2554). การลดต้นทุนเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 17(1), 1-10.

อัครเดช ไม้จันทร์, และ นุจรีย์ แซ่จิว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-121.

อาริยา บุญสม. (2556). อิทธิพลเชิงสาเหตุของผลงานขององค์การต่อการเลือกผู้นำจากเพศ และการรับรู้ความเหมาะสมของผู้นำ โดยมีลักษณะนิสัยของผู้นำและเพศของผู้นำในอดีตเป็นตัวแปรกำกับ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Evseeva, S., Evseeva, O., & Rawat, P. (2022). Employee development and digitalization in BANI world. Innovations in digital economy, 16(1), 253–264. doi:10.1007/978-3-031-14985-6_18

Fauzi, T. H., Harits, B., Danial, D. M., & Komariah, K. (2020). Adaptive strategies of external environmental effects in digital entrepreneurship in the strategic management perspective. Academic Journal of Interdisciplinary Studies, 9(3), 38-45. doi:10.36941/ajis-2020-0040

Funk, K. D., Jensen, U. T., Molina, A. L., Jr., & Stritch, J. M. (2023). Does leader gender matter for performance evaluations? Evidence from two experiments. Public Management Review, 25(5), 971-989. doi:10.1080/14719037.2021.2000222

Godoy, M. F. de, & Ribas Filho, D. (2022). Facing the BANI world. International Journal of Nutrology, 14(2), 33–45. doi:10.1055/s-0041-1735848

Nataliia, H., & Olena, M. (2023). The key administrative competencies of managers required for company development in the Bani world. Innovative and Economics Research Journal, 11(1), 289-305. doi:10.2478/eoik-2023-0012

Podolchak, N., Dziurakh, Y., Karkovska, V., Tsygylyk, N., & Bilous, N. (2023). Improvement of professional competencies and personnel competences in the BANI world on the example of civil servants through the development of their emotional intelligence. Multidisciplinary Science Journal, 5, 2023ss0513. doi:10.31893/multiscience.2023ss0513

Saint-Michel, S. (2018). Leader gender stereotypes and transformational leadership: Does leader sex make the difference?. M@n@gement, 21(3), 944-966. doi:10.3917/mana.213.0944.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York, NY: Harper & Row.

Zachosova, N. (2023). Management challenges for strategic restoration of financial and economic security of critical infrastructure in the conditions of wars, BANI world, industry 4.0 and digitalization. Economics, Finance and Management Review, 16(4), 80-93.