ผู้นำท้องที่กับการบริหารการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ฌณดิษ สุวรรณ์ธร
ธรรมพร ตันตรา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปธรรมความสำเร็จด้านการบริหารหารพัฒนาของผู้นำท้องที่ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาหาปัจจัยความสำเร็จในการนำแนวคิดแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนามาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชนในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จัดเวทีสนทนากลุ่มย่อย และสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 98 คน


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบความสำเร็จด้านต่าง ๆ ที่ผู้นำท้องที่ได้นำแนวคิดหลักการแนวทางการปฏิบัติ ด้านการบริหารการพัฒนาไปประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน พบว่า  ทำให้เกิดชุมชนต้นแบบ กลุ่มองค์กรชุมชนต้นแบบ ชมรมสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านต้นแบบ และผู้นำชุมชนต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบนำไปสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็งกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จในการนำเอาแนวคิดหลักการแนวทางการปฏิบัติด้านการบริหารการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการและการพัฒนาชุมชน รวมถึงการปกครองการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินพบว่า มีปัจจัยหนุนเสริมความสำเร็จประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านระดับการศึกษา ประสบการณ์ ระยะเวลาในการทำงานของผู้นำชุมชนร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้านการบริหารการพัฒนาปัจจัยทางด้านการได้ปฏิบัติการจริงและการลงมือทำด้วยตนเอง ปัจจัยทางด้านการมีเครือข่ายด้านการพัฒนาที่ผู้นำท้องที่สร้างและมีอยู่ ปัจจัยทางด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบบูรณาการ ประการสำคัญคือปัจจัยทางด้านการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อม

Article Details

How to Cite
สุวรรณ์ธร ฌ., & ตันตรา ธ. (2025). ผู้นำท้องที่กับการบริหารการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 8(1), 67–82. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/271400
บท
บทความวิจัย

References

เขมิกา ทองเรือง, สำราญ วิเศษ, และ กชกร เดชะคำภู. (2562). ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตามความคาดหวังของประชาชนเทศบาล ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารเสลภูมิวิชาการ, 5(2), 9-21.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2551). การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงนุช โพธิ์สาน. (2560). การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ประสิทธิ์ พุทธศาสน์ศรัทธา. (2560). การบริหารการพัฒนา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วนิดา เสร็จกิจ. (2563). การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในบริบทของการพัฒนาประเทศ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(1), 81-106.

วันชัย มีชาติ. (2552). การบริหารองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สามลดา.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การวิเคราะห์เปรียบเทียบความหมายของการบริหาร การจัดการการบริหารการพัฒนา และการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2557). การบริหารการพัฒนากับการประเมินสถานการณ์ประเทศไทยตามแนวทฤษฎีเคนส์. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 2(2), 3-21.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และ ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีรฟิล์มและไซเทกซ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

สุรพงษ์ รุ่งวารินทร์. (2561). บทบาทการปกครองของกำนันผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), 281-295