ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายและความร่วมมือเครือข่ายย่านเมืองเก่าจังหวัดเชียงรายภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือกับการเป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบาย และความร่วมมือเครือข่ายย่านเมืองเก่า จังหวัดเชียงราย ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือกับการเป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) วิเคราะห์ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือกับการเป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) พัฒนายุทธศาสตร์และขับเคลื่อนนโยบายความร่วมมือเครือข่ายย่านเมืองเก่าจังหวัดเชียงรายภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือกับการเป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาย่านเมืองเก่าในอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเวียงป่าเป้า จำนวน 30 คน นักท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองเก่าจำนวน 400 คน และ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เมืองเก่าทั้ง 3 อำเภอ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย
ผลการศึกษาพบว่า ย่านเมืองเก่าของจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพด้านความเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และด้านความเป็นอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านย่านเมืองเก่าต่อระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือของจังหวัดเชียงราย มีทั้งหมด 6 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การยกระดับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการเพื่อให้สอดรับกับความต้องการในยุค Next Normal 2) การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความพร้อมของจังหวัดเชียงรายในการเป็นประตูสู่ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 3) การพัฒนามาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มการท่องเที่ยวในปัจจุบัน 4) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาย่านเมืองเก่าในจังหวัดเชียงรายเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ 5) การพัฒนาฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ และ 6) การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรรมและปศุสัตว์ และงานศิลปะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
ชัยยุทธ ชิโนกุล. (2561). ส่วนผสมทางการตลาดของธุรกิจในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 1-7.
นครินทร์ น้ำใจดี. (2563). การสํารวจและศึกษาภาพรวมทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สําคัญในเขตย่านเมืองเก่าเชียงราย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 13(1), 37-47.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 18(1), 31-50.
ปริณภา จิตราภัณฑ์. (2563). การพัฒนาการค้าและการผลิตบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก–ตะวันตก. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและการวิจัย, 4(2), 36-43.
พัชรี สุวรรณศรี, และ สุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจ. (2565). สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน. สืบค้นจาก https://dlink.me/gMk7L.
รักพงษ์ แสนศรี, ธฤษวรรณ อัมพรมหา, และ ธณวรรณ วรสิงห์. (2566). วิเคราะห์นโยบายท่องเที่ยวของรัฐบาลเพื่อกระจายจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้การท่องเที่ยวสู่จังหวัดที่ไม่ใช่เมืองหลวงผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(2), 113-136.
รุ่งอรุณ กุลหินตั้ง. (2558). พฤติกรรมสารสนเทศของผู้ประกอบการบนระเบียงเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่นํ้าโขง. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 3(3), 79-96.
หรรษธร ณรงค์, วิจิตรา ศรีสอน, และ สัณฐาน ชยนนท์. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC). วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1256-1267.